หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ปาล์มแปรปรวนปั่นป่วนตลาด


ปาล์มแปรปรวนปั่นป่วนตลาด นางวิวรรณ บุณยะประทีปรัตน์ เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมและชาวสวนปาล์มจะไม่คัดค้าน หากรัฐบาลจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศส่วนที่เหลืออีก 20,000 ตัน ในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้ จากที่นำเข้ามาแล้วจำนวน 10,000 ตัน ตามโควตาที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้นำเข้าได้ 30,000 ตัน เพราะปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มล่าสุดในเดือน ก.ค.2555 อยู่ที่ประมาณ 148,000 ตัน ต่ำกว่าระดับสต๊อกปลอดภัยที่จำนวน 200,000 ตัน

“ราคาผลปาล์มในประเทศที่อยู่ในช่วงขาลงต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท ในเดือน ส.ค.นี้ ไม่ได้เป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันปาล์ม แต่เป็นไปตามทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงตามไปด้วย สำหรับราคาผลปาล์มในขณะนี้อยู่ที่ กก.ละ 4.70-4.90 บาท ยังเป็นราคาที่เกษตรกรมีกำไร เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ กก.ละ 3.80 บาท”

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกอยู่ที่ กก.ละ 20 บาท ขณะที่ในประเทศราคาอยู่ที่ กก.ละ 30 บาท ลดลงจากก่อนหน้านี้ที่อยู่ที่ กก.ละ 34-36 บาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มขวดพอใจ เพราะสามารถผลิตน้ำมันปาล์มขวดขนาด 1 ลิตรจำหน่ายได้ในราคาควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ขวดละ 42 บาท ส่วนปริมาณผลปาล์มในประเทศ ขณะนี้เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น คาดว่าผลปาล์มจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ โดยจะต้องจับตาต่อไปว่า ผลปาล์มที่ออกสู่ตลาดในรอบนี้จะมีเพียงพอกับความต้องการของตลาดหรือไม่ เพราะปีนี้เป็นปีที่ปริมาณผลปาล์มในประเทศค่อนข้างแปรปรวน พยากรณ์ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่ได้ ขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบกับปัญหาเอลนินโญที่ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ปริมาณผลผลิตปาล์มในภูมิภาคลดลงมากถึง 20%.


อ้างอิง:http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=1121

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคใบยางพาราอ่อน

โรคใบยางพาราอ่อน


ใบยางพาราอ่อน

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อราC.gloeosporioides
ลักษณะของเชื้อรา
ลักษณะอาการของ
โรคใบยางอ่อน
เชื้อนี้เข้าทำลายใบยางขณะมีอายุ 5 - 15 วัน หลังจากเริ่มผลิ คือ ระยะที่ใบขยายและกำลังเปลี่ยนจากสีทองแดงเป็นเขียวอ่อน เมื่อเชื้อราเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวและหลุดร่วงทันที แต่ถ้าหากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อใบโตเต็มที่แล้ว ใบจะแสดงอาการเป็นจุด ปลายใบหงิกงอ แผ่นใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีขอบแผลสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการแพร่กระจายของโรค
เชื้อนี้จะแพร่กระจายในระยะฝนชุก และเข้าทำลายส่วนยอดหรือกิ่งอ่อนที่ยังเป็น สีเขียวอยู่ ซึ่งจะเห็นเป็นรอยแตกบนเปลือก โดยแผลมีลักษณะกลมคล้ายฝาชีที่ยอดขาดแหว่งไป หรือมีรูปร่างยาวรีไปตามเปลือกก็ได้ ถ้าเป็นมากยอดนั้น ๆ จะแห้งตาย หากอากาศแห้งแล้งในระยะต่อมาจะทำให้ต้นยางเล็กแห้งตายได้
การป้องกันกำจัด
โรค
การป้องกันกำจัด
1. เนื่องจากโรคนี้เกิดกับยางที่ไม่สมบูรณ์ การบำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นยาง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
2. ป้องกันใบที่ผลิออกมาใหม่มิให้เป็นโรค โดยใช้สารเคมี ไซเน็บ หรือแคบตาโฟล ผสมสารจับใบฉีดพ่น 5 - 6 ครั้ง ในระยะที่ใบอ่อนกำลังขยายตัวจนมีขนาดโต เต็มที่


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00878
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย