หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ปาล์มแปรปรวนปั่นป่วนตลาด


ปาล์มแปรปรวนปั่นป่วนตลาด นางวิวรรณ บุณยะประทีปรัตน์ เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมและชาวสวนปาล์มจะไม่คัดค้าน หากรัฐบาลจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศส่วนที่เหลืออีก 20,000 ตัน ในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้ จากที่นำเข้ามาแล้วจำนวน 10,000 ตัน ตามโควตาที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้นำเข้าได้ 30,000 ตัน เพราะปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มล่าสุดในเดือน ก.ค.2555 อยู่ที่ประมาณ 148,000 ตัน ต่ำกว่าระดับสต๊อกปลอดภัยที่จำนวน 200,000 ตัน

“ราคาผลปาล์มในประเทศที่อยู่ในช่วงขาลงต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท ในเดือน ส.ค.นี้ ไม่ได้เป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันปาล์ม แต่เป็นไปตามทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงตามไปด้วย สำหรับราคาผลปาล์มในขณะนี้อยู่ที่ กก.ละ 4.70-4.90 บาท ยังเป็นราคาที่เกษตรกรมีกำไร เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ กก.ละ 3.80 บาท”

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกอยู่ที่ กก.ละ 20 บาท ขณะที่ในประเทศราคาอยู่ที่ กก.ละ 30 บาท ลดลงจากก่อนหน้านี้ที่อยู่ที่ กก.ละ 34-36 บาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มขวดพอใจ เพราะสามารถผลิตน้ำมันปาล์มขวดขนาด 1 ลิตรจำหน่ายได้ในราคาควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ขวดละ 42 บาท ส่วนปริมาณผลปาล์มในประเทศ ขณะนี้เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น คาดว่าผลปาล์มจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ โดยจะต้องจับตาต่อไปว่า ผลปาล์มที่ออกสู่ตลาดในรอบนี้จะมีเพียงพอกับความต้องการของตลาดหรือไม่ เพราะปีนี้เป็นปีที่ปริมาณผลปาล์มในประเทศค่อนข้างแปรปรวน พยากรณ์ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่ได้ ขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบกับปัญหาเอลนินโญที่ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ปริมาณผลผลิตปาล์มในภูมิภาคลดลงมากถึง 20%.


อ้างอิง:http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=1121

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคใบยางพาราอ่อน

โรคใบยางพาราอ่อน


ใบยางพาราอ่อน

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อราC.gloeosporioides
ลักษณะของเชื้อรา
ลักษณะอาการของ
โรคใบยางอ่อน
เชื้อนี้เข้าทำลายใบยางขณะมีอายุ 5 - 15 วัน หลังจากเริ่มผลิ คือ ระยะที่ใบขยายและกำลังเปลี่ยนจากสีทองแดงเป็นเขียวอ่อน เมื่อเชื้อราเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวและหลุดร่วงทันที แต่ถ้าหากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อใบโตเต็มที่แล้ว ใบจะแสดงอาการเป็นจุด ปลายใบหงิกงอ แผ่นใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีขอบแผลสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการแพร่กระจายของโรค
เชื้อนี้จะแพร่กระจายในระยะฝนชุก และเข้าทำลายส่วนยอดหรือกิ่งอ่อนที่ยังเป็น สีเขียวอยู่ ซึ่งจะเห็นเป็นรอยแตกบนเปลือก โดยแผลมีลักษณะกลมคล้ายฝาชีที่ยอดขาดแหว่งไป หรือมีรูปร่างยาวรีไปตามเปลือกก็ได้ ถ้าเป็นมากยอดนั้น ๆ จะแห้งตาย หากอากาศแห้งแล้งในระยะต่อมาจะทำให้ต้นยางเล็กแห้งตายได้
การป้องกันกำจัด
โรค
การป้องกันกำจัด
1. เนื่องจากโรคนี้เกิดกับยางที่ไม่สมบูรณ์ การบำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นยาง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
2. ป้องกันใบที่ผลิออกมาใหม่มิให้เป็นโรค โดยใช้สารเคมี ไซเน็บ หรือแคบตาโฟล ผสมสารจับใบฉีดพ่น 5 - 6 ครั้ง ในระยะที่ใบอ่อนกำลังขยายตัวจนมีขนาดโต เต็มที่


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00878
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

การแก้ปัญหายางพาราหน้าตาย


การแก้ปัญหายางพาราหน้าตาย

การแก้ปัญหายางพาราหน้าตาย

การที่หน้ายางพาราตาย นั้นเป็นปัญหาของเกษตรชาวยางพาราเป็นอย่างมาก จึงต้องมีวิธีแก้ไขหน้ายางพาราตาย กรีดยางพาราแล้วไม่มีน้ำยางออกมานั้น สาเหตุของอาการยางพาราหน้าตาย นั้นมีอยู่ 3 สาเหตุคือ

1.สภาพอากาศ รวมถึงสภาพดิน ที่ไม่เอื้ออำนวย และไม่มีการบำรุงต้นยางอย่างถูกวิธี

2.อาจเกิดจากปัญหาการกรีดยางพาราต้นเล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งการเปิดกรีดยางครั้งแรกไม่ได้ยึดที่อายุของต้นยางพารา แต่ จะยึดที่ขนาดของต้นยางพาราคือ ให้วัดจากพื้นดินขึ้นมา 1.5 เมตร และวัดเส้นรอบต้น ณ จุดที่สุง 1.5 เมตร ให้ได้ 50 ซม.

3.ในปีแรกเกษตรกรควรกรีดยางพารา วัน เว้น วัน ซึ่งหากกรีดเกินนั้น จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการทำให้เกิดอาการยางพาราหน้าตาย หรือหน้ายางพาราตาย

วิธีแก้ไขหน้ายางพาราตาย

1.หยุดกรีดยาง และควรบำรุงรักษาต้นยาง 3-6 เดือน (หากอาการไม่รุนแรง)

2.หยุดกรีดยาง และควรบำรุงรักษาต้นยาง 1 ปี (กรณีอาการรุนแรงไม่มากนัก)

3.หากนานกว่า 1 ปี แสดงว่าอาการแก้ไขไม่ได้แล้ว ต้องตัดต้นยางพารขายเท่านั้น

*สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสอบถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์กรทำสวนยาง จังหวัดอุดรธานี โทร.(042)349157-8


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00877
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคแส้ดำในไร่อ้อย

โรคแส้ดำในไร่อ้อย

โรคแส้ดำในไร่อ้อย

สาเหตุ เกิดจาก เชื้อรา Ustilago scitaminea

การระบาดของโรคแส้ดำในไร่อ้อย

1. การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยทางท่อนพันธุ์ จากกอที่เป็นโรค

2. เชื้ออยู่ในดินและสามารถเข้าทำลายอ้อยที่ปลูกใหม่ได้

3. เชื้อสามารถแพร่กระจายได้โดยลม และเข้าทำลายพันธุ์ที่อ่อนแอได้

ลักษณะอาการโรคแส้ดำในไร่อ้อย

อ้อยจะแตกยอดออกมาเป็นแส้สีดำแทนยอดปกติ ต้นแคระแกรนผอม ข้อสั้น ใบเล็ก แตกกอจัด เมื่อเป็นรุนแรงอ้อยจะแห้งตาย ผลผลิตลดลงเกินกว่า 10 % CCS ลดลง ไว้ตอได้น้อยลง

การป้องกันกำจัดโรคแส้ดำในไร่อ้อย

1. เลือกใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น อู่ทอง 1, อู่ทอง 2, อู่ทอง 3, อู่ทอง 4

2. ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด

3. ในพื้นที่มีการระบาด ถ้าเลือกใช้พันธุ์ที่ไม่ราบข้อมูลความต้านทาน ควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมี เช่นไตรอะไดมีฟอน (ไบลีตัน 25 % WP), โปรปิโคนาโซล (ทิลท์, เดสเมล) อัตรา 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาที ก่อนปลูก


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00876
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

ฤดูปลูกข้าวโพด

ฤดูกาลปลูกข้วโพด

ฤดูปลูกข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ค่อนข้างทนทานและปลูกง่าย ในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ถ้ามีน้ำเพียงพอ จะสามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดทั้งปี การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากน้ำฝนธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมจึ่งขึ้นอยู่ กับจำนวนน้ำฝนและการกระจายตัวของฝนในแต่ละเดือนนั่นเอง ปกติเฉลี่ยโดยทั่ว ๆ ไป ฝนจะเริ่มตกมากตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤศจิกายน และระหว่างสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบันมีอายุปานกลาง คือ ประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน ดังนั้น จึงอาจเลือกปลูกข้าวโพดได้ตามความเหมาะสม ถ้าปีใดมีฝนตกสม่ำเสมอแต่ต้นปี อาจปลูกข้าวโพดได้ ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกปลูกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และครั้งที่สองปลูกระหว่างเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม พวกที่ปลูกต้นฤดูฝนโดยทั่ว ๆ ไป มักได้ผลิตผลสูงกว่าพวกที่ปลูกปลายฤดูฝน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำฝนกำลังพอเหมาะและโรคแมลงรบกวนน้อย แต่มีข้อยุ่งยากในการเก็บเกี่ยว ไม่สะดวกแก่การตากข้าวโพด เนื่องจากฝนตกชุก

ฤดูกาลปลูกข้วโพด


ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนํ้า แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพด โดยอาศัยนํ้าฝนเป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดู คือ

1. ปลูกต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับการตกและการกระจายของ ฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เนื่องจากได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรครานํ้าค้างระบาด

พันธุ์สุวรรณ 2602 เทียบกับสุวรรณ 1 ทำความเสียหาย รวมทั้งปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษ อะฟลาท้อกซิน

2. ปลูกปลายฤดูฝน เริ่มประมารเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม การปลูกในฤดูปลายฝนนี้ ต้องใช้ พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครานํ้าค้าง เพราะเป็นฤดูปลูกที่โรครานํ้าค้างระบาดทำ ความเสียหายให้แก่ข้าวโพด

มากอย่างไรก็ตามข้าวโพด ที่เก็บได้จากการปลูกต้นฤดูฝนคุณภาพของเมล็ดตํ่า ทั้งนี้เพราะเมล็ดเก็บ เกี่ยวที่ความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งสร้างสารพิษ อะฟลาท้อกซิน ทำให้เมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกต้นฤดูฝน มีสารพิษนี้ในปริมารสูง จนก่อให้เกิดปัญหาการรับซื้อจากตลาดต่างประเทศ ส่วนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกปลายฤดูฝน ไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท้อกซิน ถ้ามีก็น้อยเพราะการเก็บเกี่ยวกระทำ ในขณะที่ความชื้นในอากาศตํ่า

อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00875
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน

เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน

เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน

ให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักสดดี
::: พันธุ์ข้าวโพดหวาน

พันธุ์ข้าวโพดหวานที่ใช้ปลูกควรเป็นข้าวโพดหวานลูกผสม ในตลาดมีหลายพันธุ์ผลิตจากหลายบริษัทให้เลือก แต่พันธุ์ที่แนะนำคือพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง มีขนาดฝักใหญ่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดดีมาก รสชาติดี กลิ่นหอม นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้เชื้อพันธุกรรมที่มีในประเทศ ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างกว้างขวาง

::: การเตรียมดิน

การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูง เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ดจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วยการเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะและทิ้งตากดินไว้ 3-5 วัน จากนั้นจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้ แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่เหมาะกับการงอกของเมล็ด ควรมีการหว่านปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยขี้ไก่เป็นต้น อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน

::: การปลูก ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนวซึ่งสามารถปลูกได้สองวิธี คือ

การปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่

การปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็นสองแถวข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร1 ต้นต่อหลุม จะมีจำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500 ต้นต่อไร่และใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำจะปล่อยน้ำตามร่องซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกดี

::: การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน เพราะปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จึงควรใส่ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) เพิ่มเติมลงในดิน การใส่ปุ๋ยในข้าวโพดหวานมีขั้นตอนดังนี้

การใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8

อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน

หมายเหตุ

ถ้าปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบาง ๆ ก่อนหยอดเมล็ด

ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรงเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้

การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วันหลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยก็จะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว

การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วันหลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

::: การกำจัดวัชพืช

ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดหวานมีวัชพืชขึ้นมากจะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลงจึงควรมีการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก วิธีการกำจัดวัชพืชสามารถทำได้ดังนี้

การฉีดยาคุมวัชพืช ใช้อลาคลอร์ ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูกก่อนที่วัชพืชจะงอกขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น

ใช้วิธีการเขตกรรม ถ้าหากจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่โรงงานผู้ส่งเสริมการปลูก

::: การให้น้ำ

ระยะที่ข้าวโพดหวานขาดน้ำไม่ได้คือระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดหวานขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลงจะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงปลายหรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ซึ่งฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก

::: การเก็บเกี่ยว

โดยปกติข้าวโพดหวานจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 70-75 วันหลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้นมีไหม 50 ต้น) ข้าวโพดหวานพันธุ์ ไฮ-บริกซ์ 10 จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 68-70 วัน และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3 จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 65-68 วันหลังปลูก แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานหรือจำหน่ายโดยเร็ว เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ หากขาดน้ำจะมีผลต่อเมล็ดและน้ำหนักของฝัก

::: ปัญหาและการแก้ไข ที่พบเห็นบ่อย ๆ มีดังนี้

ความงอก ปกติเมล็ดพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ได้ผ่านการทดสอบความงอกมาแล้วจึงจำหน่ายสู่เกษตรกร แต่บางครั้งเมล็ดพันธุ์อาจจะค้างอยู่ในร้านค้าเป็นเวลานานหรือเกษตรกรอาจจะซื้อเมล็ดพันธุ์มาเก็บไว้ที่บ้าน และสถานที่เก็บอาจจะไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกลดลง วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ ก่อนปลูกทุกครั้งให้ทดสอบความงอกของเมล็ดที่จะปลูกก่อน โดยการสุ่มเมล็ดจากถุงประมาณ 100 เมล็ด แล้วปลูกลงในกระบะทรายหรือดินแล้วรดน้ำเพื่อทดสอบความงอก นับต้นที่โผล่พ้นดินในวันที่ 7 ถ้ามีจำนวนต้นเกิน 85 ต้น ถือว่ามีอัตราความงอกที่ใช้ได้ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ถุงนั้นไปปลูกได้

โรคราน้ำค้าง ปัจจุบันพันธุ์ข้าวโพดหวานเกือบทุกพันธุ์ที่ขายในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคราน้ำค้าง ตั้งแต่พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 จนถึงพันธ์ล่าสุดไฮ-บริกซ์ 9 ซึ่งทุกพันธุ์ได้ผ่านการคลุกยาป้องกันโรคราน้ำค้าง (เมตาแลกซิล) ในอัตรายาที่เหมาะสม เมื่อปลูกแล้วจะไม่พบว่าเป็นโรค แต่การปลูกที่ผิดวิธีก็อาจเป็นสาเหตุให้เป็นโรคราน้ำค้างได้ การปลูกที่ผิดวิธีที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้

แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูก เกษตรกรเชื่อว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้การงอกดีและมีความสม่ำเสมอ แต่การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้ยาที่คลุกติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นยาป้องกันโรคราน้ำค้างละลายหลุดออกไป ทำให้ยาที่เคลือบเมล็ดมีน้อยลงหรือไม่มีเลย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไปปลูก ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงเป็นโรค ราน้ำค้าง วิธีแก้ไข คือ ไม่แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกหรือคลุกสารเคมีอื่นเพิ่มเพราะมีผลต่อความต้านทานโรคราน้ำค้างและความงอกของเมล็ดพันธุ์

ปล่อยน้ำท่วมขังแปลงหลังปลูก เกษตรกรบางรายเมื่อปลูกเสร็จจะปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกหรือปล่อยน้ำท่วมร่องปลูก ซึ่งน้ำจะท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่าจะซึมลงดินหมด เมล็ดจะแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ยาป้องกันโรคราน้ำค้างที่เคลือบเมล็ดอยู่จะละลายหายไปกับน้ำ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่ได้รับยาป้องกันโรคราน้ำค้าง จึงแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น วิธีแก้ไข คือ ให้น้ำในแปลงก่อนการปลูกและรอให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการงอกของเมล็ดจึงทำการปลูก ยาที่เคลือบเมล็ดจะไม่ละลายหลุดไปกับน้ำ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงได้รับยาอย่างเต็มที่และไม่เป็นโรคราน้ำค้าง

การระบาดของหนู พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดหวานติดต่อกันหลายรุ่นมักจะพบว่ามีหนูระบาดและมักจะเข้าทำลายข้าวโพดหวานในระยะงอกและระยะก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อมีหนูระบาดจะทำให้ผลผลิตลดลง ฝักที่เก็บได้มีร่องรอยการทำลายของหนูทำให้ขายไม่ได้ แก้ไขโดยการวางยาเบื่อหนู ซึ่งทำได้โดยใช้ข้าวโพดหวานฝักสดฝานเอาแต่เนื้อผสมกับยาเบื่อหนูที่เป็นผงสีดำ (Zinc phosphide) คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วหว่านให้ทั่วในแปลงหลังจากปลูกเสร็จ (อาจจะหว่านในช่วงหลังปลูก คือ ข้าวโพดกำลังงอก ) และในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ( ช่วงข้าวโพดกำลังเป็นน้ำนม ประมาณ 65-70 วันหลังปลูก )หว่านติดต่อกันสัก 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 วัน จะทำให้การระบาดของหนู ลดลง

หนอนเจาะฝักข้าวโพด บางฤดูจะพบว่ามีการระบาดของหนอนเจาะฝักเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้ฝักที่เก็บเกี่ยวได้มีตำหนิขายไม่ได้ราคา ผลผลิตต่อไร่ลดลง สามารถป้องกันการระบาดได้โดยการหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะในระยะเริ่มผสมเกสร ถ้าพบว่าเริ่มมีหนอนเจาะฝักให้ใช้ยา ฟลูเฟนนอกซูรอน หรือ ฟิโบรนิล (ชื่อสามัญ) ในอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

มวนเขียว หลังจากข้าวโพดผสมเกสรแล้ว บางครั้งจะมีมวนเขียวระบาดโดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มวนเขียวจะใช้ปากเจาะฝักข้าวโพดและดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดที่ยังอ่อนอยู่ชึ่งจะไม่เห็นร่องรอยการทำลายจากภายนอก เมื่อเก็บเกี่ยวจะพบว่าเมล็ดมีรอยช้ำหรือรอยดำด่างทำให้ขายไม่ได้ราคา ป้องกันได้โดยการหมั่นเดินตรวจแปลงในระยะหลังจากผสมเกสรแล้วถ้าพบมวนเขียวให้ฉีดพ่นด้วยยา คาร์โบซัลแฟน (ชื่อสามัญ) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝักข้าวโพด

เพลี้ยไฟ ถ้าข้าวโพดหวานออกดอกในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มักจะพบว่ามีเพลี้ยไฟ(แมลงตัวเล็กๆ สีดำ) เกาะกินน้ำเลี้ยงที่ไหมของฝักข้าวโพดทำให้ไหมฝ่อ การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดีตามไปด้วย ป้องกันได้โดยหมั่นตรวจแปลงในระยะออกดอก ถ้าพบว่ามีเพลี้ยไฟเกาะที่ไหม ให้ใช้ยาเอ็นโดซันแฟน (ชื่อสามัญ) หรือ วีฟอส (ชื่อการค้า) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก

ข้าวโพดไม่หวาน ถ้าพบว่าข้าวโพดหวานฝักสดมีรสชาติไม่หวานแสดงว่าดินในแปลงที่ปลูกข้าวโพดขาดธาตุโปแตสเซี่ยม (K) ธาตุโปแตสเซี่ยมจะช่วยให้การสะสมน้ำตาลในเมล็ดดีขึ้น แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมร่วมด้วย เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 16-16-8 หรือ 13-13-21 ขึ้นกับสภาพดิน ถ้าดินขาดโปแตสเซี่ยมมากก็ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีค่า K สูง

เปลือกหุ้มฝักเหลือง การเก็บเกี่ยวที่อายุเกิน 20 วันหลังออกไหม 50% จะมีผลทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอ่อนลงดูเหมือนฝักจะแก่ บางครั้งถึงแม้ว่าจะเก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม เปลือกหุ้มฝักก็ยังมีสีออกเหลือง การแก้ไขทำได้โดยการเพิ่มปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นข้าวโพดในขณะดินมีความชื้นในระยะที่ข้าวโพดออกดอก จะทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอยู่ได้นานขึ้น

โรคราสนิม ถ้ามีโรคราสนิมระบาดรุนแรงจะทำให้ฝักข้าวโพดไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่เต็มถึงปลายขายไม่ได้ราคา ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราสนิมอยู่เป็นประจำควรฉีดพ่นด้วยยาไดฟีโนโคนาโซล (ชื่อสามัญ)หรือ สกอร์ (ชื่อการค้า) อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อเริ่มเป็นโรค

::: ข้อควรระมัดระวัง

การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรควรขอคำแนะนำจากโรงงานผู้ส่งเสริม หรือนักวิชาการโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงสารตกค้างที่อาจปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์

ข้อมูล นายไพศาล หิรัญมาศสุวรรณ นักปรับปรุงพันธุ์พืช

อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00874
ข้าวโพด|ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์|ข้าวโพดหวาน|การปลูกข้าวโพด|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

การผสมพันธุ์ข้าวโพด

การผสมพันธุ์ข้าวโพด

การผสมพันธุ์ข้าวโพดการศึกษาและค้นคว้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในด้านพันธุกรรมมีมากกว่าพืชอื่นใดทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูง ปลูกง่ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง มีลักษณะแต่ละอย่างแตกต่างกันมาก นอกจากนี้ยังมีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่แยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน สะดวกที่จะผสมตัวเอง (selfing) หรือผสมข้ามต้น (crossing) ต้นหนึ่งสามารถผลิตเมล็ดได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้โครโมโซม (chromosome)ก็มีขนาดใหญ่และมีจำนวนเพียง 10 คู่เท่านั้น ข้าวโพดเป็นพืชที่ผสมข้ามต้นตามธรรมชาติ ฉะนั้น พันธุ์ที่ปรากฏตามธรรมชาติ หรือพันธุ์ที่ปล่อยให้ผสมกันเองโดยอิสระนั้น จึงมักจะผสมปนเปกันหลายซับหลายซ้อน และมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูงมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นข้าวโพดพันธุ์ลูกผสมหลายแสนหลายล้านพันธุ์ผสมปนเปกันอยู่เราเรียกข้าวโพดพันธุ์เช่นนี้ว่า พันธุ์ผสมเปิด (open pollinated variety) เป็นพันธุ์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่เดิม และยังคงใช้กันอยู่ในบางประเทศ ข้อดีของพันธุ์ดังกล่าวนี้อยู่ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย มีความไหวตัวต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กล่าวคือถึงแม้จะมีผลผลิตไม่ค่อยสูงเหมือนพันธุ์ลูกผสม (hybrids) แต่การปลูกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้บางแห่งดินจะเลว บางแห่งฤดูฝนจะแล้ง วัชพืชจะรกไปบ้าง แต่ผลผลิตก็ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ถึงกับเสียทั้งแปลง นอกจากนี้ข้าวโพดพันธุ์ผสมเปิดนี้ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในฤดูต่อไปได้เอง โดยผลตอบแทนต่อไร่จะไม่ต่ำกว่าพันธุ์เดิม และถ้าหากรู้จักวิธีคัดเลือกพันธุ์ที่ถูกต้องแล้ว อาจจะได้พันธุ์ที่คัดเลือกไว้มีผลผลิตและคุณภาพบางอย่างดีกว่าพันธุ์เดิมอีกด้วย


ในปัจจุบันวิทยาการด้านปรับปรุงพันธุ์พืชมีความก้าวหน้ามาก ตลอดจนเกษตรกรมีความพร้อมในการใช้พันธุ์ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ลูกผสม แนวทางการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดจึงมุ่งเน้นไปเพื่อผลิตพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมโดยอาศัยลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของพืชผสมข้ามต้น เมื่อนำพันธุ์หรือสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมมาผสมกัน ลูกผสมที่ได้นี้มักจะมีลักษณะดีเด่นเหนือกว่าพ่อแม่ (heterosis หรือ hybrid vigor) ลักษณะดีเด่นดังกล่าวนี้ มักจะแสดงออกในหลาย ๆ ทาง โดยทั่ว ๆ ไป เช่น ผลผลิต ความสูง ขนาด และความเจริญเติบโต เป็นต้น และยิ่งพ่อแม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากเพียงใด ลักษณะดีเด่นเช่นที่ว่านี้ก็ยิ่งแสดงออกมากเท่านั้น การผลิตพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมชนิดต่าง ๆ ก็อาศัยหลักดังกล่าว โดยงานด้านนี้ได้เริ่มเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2488 มีหลักเกณฑ์และวิธีการ คือ พยายามสกัดสายพันธุ์ (lines) เป็นจำนวนมากจากข้าวโพดพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการควบคุมและบังคับให้ผสมภายในต้นเดียวกัน (selfing) หลาย ๆ ชั่วอายุ เพื่อให้สายพันธุ์ที่ผสมตัวเอง (inbred lines) เหล่านั้น มีลักษณะทางกรรมพันธุ์แตกต่างแยกแยะกันไปและเกือบกลายเป็นพันธุ์แท้ (homozygous lines) มากเข้าทุกที แต่ในขณะเดียวกันสายพันธุ์เหล่านี้ก็จะสูญเสียความแข็งแรง และความสามารถในการเจริญเติบโตด้วย สายพันธุ์เหล่านี้จะนำมาผสมกันเพื่อทดสอบความสามารถในการรวมตัวโดยทั่วไป (general combining ability) หรือเฉพาะของแต่ละคู่ (specific combining ability) เมื่อพบว่าคู่ใดที่ให้ผลผลิตสูง หรือแสดงความดีเด่นเหนือพ่อแม่มาก ก็จัดว่าเป็นลูกผสมที่ดีเหมาะแก่การใช้ทำพันธุ์ เขาก็จะกลับไปขยายสายพันธุ์พ่อแม่ให้มากขึ้นเพื่อใช้ในการผสมพันธุ์ ให้ได้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมในชั่วแรกเป็นจำนวนมาก ๆ

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการสร้างพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม ซึ่งการปฏิบัติจริงจะมีวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่านี้มาก การผลิตข้าวโพดลูกผสมอาจแบ่งได้เป็นหลายชนิดตามวิธีการผสม และจำนวนพันธุ์พ่อแม่ ดังนี้

ลูกผสมเดี่ยว (single cross) เช่น (พันธุ์ ก x พันธุ์ ข) เป็นลูกผสมที่ได้จากการผสมสายพันธุ์ที่ผสมตัวเอง 2 สายพันธุ์เข้าด้วยกัน เป็นลูกผสมที่มีความดีเด่นหรือเหนือกว่าพ่อแม่มาก และดีกว่าข้าวโพดลูกผสมชนิดอื่น ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด แต่เนื่องจากการผลิตเมล็ดทำได้ยากเพราะได้จากเมล็ดแม่พันธุ์ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผสมตัวเอง จึงมักอ่อนแอปลูกยาก และมีเมล็ดน้อย ฉะนั้น จึงมีค่าใช้จ่ายในการผลิตเมล็ดสูง ไม่เหมาะสำหรับผลิตเป็นพันธุ์ปลูกในการค้า นอกจากข้าวโพดหวานบางชนิดที่ต้องการขนาดเมล็ดสม่ำเสมอ และแก่พร้อม ๆ กันเท่านั้น จึงจะใช้พันธุ์ชนิดนี้

ลูกผสมสามทาง (three-way cross) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว 1 คู่ (ก x ข) กับสายพันธุ์ที่ผสมตัวเอง 1 สายพันธุ์ (ค) เช่น พันธุ์ (ก x ข) x ค โดยมากมักใช้พันธุ์ ก x ข เป็นพันธุ์แม่ เพื่อให้ผลิตเมล็ดได้มากกว่าลูกผสมเดี่ยว

ลูกผสมคู่ (double cross) เป็นลูกผสมระหว่างผสมเดี่ยว 2 พันธุ์ เช่น (ก x ข) x (ค x ง) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อมีการค้นคิดการนำข้าวโพดลูกผสมขึ้นใหม่ ๆ นั้น ส่วนมากเป็นพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวทั้งสิ้น การผลิตเมล็ดพันธุ์ทำได้ยาก มีราคาแพงจึงไม่อาจผลิตเป็นการค้าได้ จนกระทั่ง Dr. D. F. Jones ได้แนะวิธีการผลิตข้าวโพดลูกผสมคู่นี้ขึ้นทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมผลิตได้ง่าย และมีราคาถูกพอที่จะจำหน่ายเป็นการค้าได้ ทั้งนี้ เพราะเมล็ดที่ผลิตได้นั้นเกิดจากพันธุ์แม่ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว จึงมีเมล็ดมากและแข็งแรง ปัจจุบันนี้การใช้ข้าวโพดลูกผสมคู่ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ และมีส่วนที่ทำให้ผลผลิตของประเทศเหล่านั้นทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานั้น มีผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมคู่เป็นจำนวนมาก

ลูกผสมซ้อน (multiple cross) ได้แก่ ข้าวโพดลูกผสมระหว่างลูกผสมคู่ 2 พันธุ์ (ก x ข) x (ค x ง) x (จ x ฉ) x (ช x ซ) ทั้งนี้เพื่อให้การผลิตเมล็ดง่าย และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าลูกผสม 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้น

ลูกผสมรวม (composite) หรือลูกผสมสังเคราะห์ (synthetic) เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ที่ผสมตัวเองหลาย ๆ สายพันธุ์ หรืออาจจะเป็นลูกผสมชั่วอายุหลัง ๆ ของพันธุ์ลูกผสมซ้อน ซึ่งปลูกให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ



อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00873

ข้าวโพด|ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์|ข้าวโพดหวาน|การปลูกข้าวโพด|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ป้องกัน กำจัดเชื้อรา ป้องกันโรคทางดิน


IMO จุลินทรีย์ บำรุงและป้องกันโรงสำหรับยางพารา

IMO: ไอเอ็มโอ

ป้องกัน กำจัดเชื้อรา ป้องกันโรคทางดิน

ใช้ฉีดพ่นลงดิน เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประสิทธิภาพลงในดิน ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ ใช้ฉีดพ่น เพื่อย่อยสลายใบไม้ หรือซากพืช ซากสัตว์ในพื้นที่ เพื่อเร่งขบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ให้กลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ในดินต่อๆไป
ราคา และวิธีการสั่งซื้อ
ไอเอ็มโอ
จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง

ดินดี ต้นใหญ่ โตไว ไกลโรค
*โปรดอ่าน สำหรับสินค้าสามรายการดังนี้ 1.IMO(ไอเอ็มโอ) 2.Bio-N(ไบโอ-เอ็น) และ 3.IC-KIT2(ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว) กรณีจัดส่งทางไปรษณีย์ ทางฟาร์มเกษตรจะทำการใช้สติกเกอร์แผ่นเล็กๆ ปิดรูระบายอากาศที่ฝาด้านบนของขวด ก่อนจัดส่งให่ท่าน เนื่องจากสินค้าทั้งสามรายการนี้ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ แพ็คเกจจึงต้องมีรูระบายอากาศเล็กๆ ฉนั้นก่อนเราทำการจัดส่ง จึงต้องปิดรูเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว IC KIT2 ย่อยสลายฟางข้าว เราจำเป็นต้องตัดพลาสติกหุ้มแพคเกจก่อน แล้วจึงจะใช้สติกเกอร์ปิดรูได้

มีขนาด 3 ลิตร และขนาด 20 ลิตร

- เพิ่มการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน และเศษซากพืชซากสัตว์ในดิน
- ป้องกันการเกิดโรคทางดิน ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคเส้นดำ โรครากขาว โรคเหี่ยว
- ป้องกันโรครา เช่นราแป้ง ราใบจุด โรคใบร่วง - เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
- ปรับสภาพดิน และพัฒนาโครงสร้างดิน - เพิ่มประสิทธิภาพการปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน
- เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
- ลดปัญหาการเกิดโรคทางดิน * ข้อสำคัญ ห้ามใช้ร่วมกับสารเคมี หรือสัมผัสกับสารเคมี เนื่องจาก สารเคมีจะทำให้จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงเสื่อมคุณภาพ และตาย

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO)


ในปัจจุบันนี้เกษตรกรได้หันมาผลิตพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้าและการส่งออกมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งการปลูกพืชซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดิมเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการบำรุงดินย่อมส่งผลให้ดินเสื่อม โทรม ผลผลิตตกต่ำ ต้องใช้ปุ๋ยใช้ยาเพิ่มมากขึ้น การพึ่งพาปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้เกษตรกรเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากราคาผลผลิตถูกผูกขาดและกำหนดราคาโดยกลไกของระบบตลาดทุน ซึ่งเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ย่อมทำให้เกษตรกรประสบกับภาวะขาดทุนและมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากทุกที รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตก็เสื่อมโทรมลง เนื่องจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเหล่านี้

ความหมายและความสำคัญของจุลินทรีย์ในท้องถิ่น

ทั้งนี้ การนำจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้านมาปรับใช้กับระบบผลิตของ เกษตรกรอาจเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับ เกษตรกรได้ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นที่แตกต่างกันเพราะมีการ นำเอาจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ภายในท้องถิ่นนั้น ๆ มาทำเป็นหัวเชื้อสำหรับนำไปขยายและประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น สามารถปลูกพืชงอกงาม ให้ผลผลิตสูง ทำให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล โรคและแมลงศัตรูพืชลดลง รวมทั้งเกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการผลิต ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็ดีขึ้นตามไปด้วย

โดยทั่วไป จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้านจะหมายถึง จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในขอบเขตของระบบนิเวศนั้น ๆ ไม่ได้นำเข้ามาจากภายนอกระบบ ภายนอกท้องถิ่น ภายนอกเมือง ภายนอกประเทศ หรือภายนอกภูมิภาคโลกนั้น ๆ เรียกเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Indigenous Micro Organisms (IMO)

ไอ เอ็ม โอ (IMO) เป็นชื่อเฉพาะที่สมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี ใช้เรียกราใบไม้สีขาว ซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ในกลุ่มราเมือก (Leaf Mold) ที่อาศัยอยู่ภายในขอบเขตพื้นที่เพาะปลูก เป็นสายพันธุ์ที่จะใช้ประโยชน์ในการทำการกสิกรรมไร้สารพิษได้ดี มีคุณภาพสูง จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำหมัก อีเอ็ม หรือ พ.ด. สูตรต่าง ๆ เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ และประการสำคัญคือ จุลินทรีย์ท้องถิ่นนั้น เกษตรกรไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนเพราะมีอยู่แล้วภายในท้องถิ่น อีกทั้งสามารถผลิตใช้ได้เองไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสามารถพัฒนาคิดค้นสูตรที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของตนเองได้อีกด้วย

ประโยชน์ของเชื้อราขาว (จุลินทรีย์ท้องถิ่น)

1. ช่วยย่อยสลายเร็ว (ทำปุ๋ยหมัก)
2. ปรับความเป็นกรดด่างของดิน หรือ pH
3. ทำให้ดินปลดปล่อยแร่ธาตุ
4. ทำให้ดินโปร่ง มีออกซิเจน จุลินทรีย์ทำงานได้เต็มที่ มีประสิทธิภาพ
5. ทำให้พืชต้านทานโรคที่เกิดจาก เชื้อรา โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย และดับกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์
6. เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน



วิธีใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่น IMO

เวลาใช้ให้ผสมน้ำในอัตราส่วน IMO 1 ส่วน : น้ำ 1,000 ส่วน หรือ IMO 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร แล้วคลุกผสมกับรำข้าว สัดส่วนที่เหมาะสมจะกำหนดได้ยาก เราต้องทดลองกำดู ผสมแล้วกำไว้ เมื่อคลายมือแบออกก้อนรำผสมนั้นจะอยู่คงรูป ถ้าส่วนผสมเหลวเกินไปเพราะน้ำมากไปเราจะต้องเติมรำเข้าไปคลุกอีกจนได้ลักษณะ ที่ต้องการ

ส่วนผสมที่เราทำขึ้นนี้จะเป็นเชื้อดินหมักที่เราจะใช้สำหรับเอาไปโรยบนดิน ที่ต้องการทำการเพาะปลูก เมื่อผสมแล้วเราต้องเอาฟางคลุมทิ้งไว้อีก 7-10 วัน เชื้อดินหมักจะได้ที่ ฟางที่คลุมนั้นถ้าสานเป็นเสื่อฟางได้จะดีมาก

จุลินทรีย์ IMO ชอบนอนใต้ฟาง กองเชื้อดินหมักนี้ต้องทำในร่ม ใต้หลังคา อย่าให้ถูกฝนถูกน้ำ การใช้ประโยชน์ IMO โดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่

1. เพื่อใช้ปรับโครงสร้างของดิน โดยเอาดินในพื้นที่ของเราน้ำหนักเท่ากับเชื้อดินหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทำเป็นกอง เอาฟางคลุมไว้ดังเดิม ทิ้งไว้อีก 3 วันแล้วจึงนำไปใช้โรยในไร่นาเพื่อเตรียมดินทำการเพาะปลูกได้

2. เพื่อใช้เป็นส่วนผสมกับปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยใช้เชื้อดินหมักประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำประมาณ 200 ลิตรที่จะใช้ทำการหมัก และทำตามกระบวนการหมักทั่วไป

โดยสรุปแล้วเทคนิคเกี่ยวกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น คงไม่ได้เป็นเพียงเทคนิคสำหรับการปรับปรุงบำรุงดินเท่านั้น หากแต่ชวนให้ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดความเชื่อของเกษตรกรไทย จากการเป็น “เกษตรกรมือสอง” ที่คอยแต่พึ่งพาเทคโนโลยีของระบบทุน ให้กลับมาเป็น “เกษตรกรมือหนึ่ง” ที่สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตนเองขึ้นมาดังเช่นเกษตรกรใน อดีต ที่ได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาขึ้นมามากมาย รวมถึงแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต จากการผลิตที่ถูกครอบงำโดยปัจจัยภายนอก มาเป็นการผลิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี

แม้ในวันนี้การปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดและระบบการผลิตของเกษตรกรไทยโดยรวม ยังเป็นสิ่งที่ยากลำบาก แต่เมื่อใดก็ตามที่ยังมีเกษตรบางส่วนเลือกที่ศึกษาภูมิปัญญาดังเดิมและพัฒนา องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตและวัฒนธรรมของชุมชน ก็เชื่อได้ว่าเกษตรกรเหล่านี้จะคอยเป็นแรงผลักดันอันมีค่าที่จะช่วยขับ เคลื่อนขบวนการเกษตรกรไทยให้เดินไปสู่วิถีการเกษตรแบบยั่งยืนที่มีคุณค่า พึ่งพาตัวเองได้ในที่สุด

อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00369
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปุ๋ยน้ำ สำหรับข้าว


ปุ๋ยน้ำ : ปุ๋ยน้ำสำหรับฉีดพ่นทางใบ เร่งผลผลิตในนาข้าว

ตรวจสอบราคาปัจจุบัน คลิกที่นี่ -> ใบรายการราคา (Price list)

ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ

ย่อยสลายตอซังฟางข้าว ลดข้าวดีดได้มากกว่า 70%

ไอซีคิท 2 : ฉีดพ่นและไถกลบ เพื่อเร่งการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้กลายเป็นธาตุอาหารในดิน ช่วยส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ลดการใช้ปุ๋ย สภาพดินดีขึ้นทุกๆปี

คุณสมบัติจำเพาะ : ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน, ปรับปรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย, เพิ่มธาตุอาหารในดิน, ป้องกันเชื้อโรคทางดิน

วิธีการใช้ และอัตราส่วนผสม
ไอซีคิท 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ 1 ไร่ จากนั้นทำการไถกลบ
ข้าวเขียว ด้วยคู่นาข้าวเขียวขจี

ปุ๋ยน้ำ : เร่งข้าวให้เขียวขจี

ปุ๋ยน้ำ : คู่นาข้าวเขียวขจี : ฉีดหลังปักดำ หรือ หลังหว่านประมาณ 20 วัน ทำให้ข้าวแตกกอดี ลำต้นแข็งแรงปลอดภัยต่อศัตรูพืช และ เขียวนาน ปุ๋ยน้ำ + บูสเตอร์สีเงิน บำรุงต้น

คุณสมบัติจำเพาะ
บูสเตอร์ สีเงิน : อุดมด้วย Fe, Zn ทำให้ใบเขียว ลำต้นแข็งแรง
ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว : ประกอบด้วยธาตุอาหาร N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) Ca (แคลเซียม) Mg (แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) Zn (สังกะสี) Fe (เหล็ก) Cu (ทองแดง) Mn (แมงกานีส) Mo (โมลิบดีนัม) Cl (คลอรีน) B (โบรอน) NI (นิกเกิล) พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 05.01023.369 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา

วิธีใช้ และอัตราส่วนการผสม (หนึ่งชุดใช้ได้ประมาณ 5 ไร่)
บูสเตอร์ สูตรสีเงิน 40 ซีซี (3 ฝา) + ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว 40 ซีซี (3 ฝา) ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าว หนึ่งไร่ฉีดประมาณ 80 ลิตร
[ฉีดพ่นตอนไม่มีแดด ช่วงก่อนแดดออก 5:00 น. - 9:00 น. หรือ หลังแดดตก เวลา 16:00 น. - 20:00 น. ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดจัด]
ข้าวรวงยาว ด้วยคู่นาข้าวรวงยาว

ปุ๋ยน้ำ : เร่งข้าวให้รวงยาว ฉีดตอนข้าวตั้งท้อง

ปุ๋ยน้ำ : คู่นาข้าวรวงยาว : รวงยาว ลมเบ่ง กระชากรวง ด้วย ปุ๋ยน้ำ + บูสเตอร์สีแดง บำรุงดอก

คุณสมบัติจำเพาะ
บูสเตอร์ สีแดง : ส่งเสริมให้รวงข้าวสมบูรณ์ เตรียมความพร้อมสำหรับเร่งรวง ปรับความสมดุลให้ข้าวพร้อมที่จะออกเมล็ดได้อย่างเต็มที่
ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว : ประกอบด้วยธาตุอาหาร N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) Ca (แคลเซียม) Mg (แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) Zn (สังกะสี) Fe (เหล็ก) Cu (ทองแดง) Mn (แมงกานีส) Mo (โมลิบดีนัม) Cl (คลอรีน) B (โบรอน) NI (นิกเกิล) พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 05.01023.369 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา

วิธีใช้ และอัตราส่วนการผสม (หนึ่งชุดใช้ได้ประมาณ 5 ไร่)
บูสเตอร์ สูตรสีแดง 40 ซีซี (3 ฝา) + ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว 40 ซีซี (3 ฝา) ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าว หนึ่งไร่ฉีดประมาณ 80 ลิตร
[ฉีดพ่นตอนไม่มีแดด ช่วงก่อนแดดออก 5:00 น. - 9:00 น. หรือ หลังแดดตก เวลา 16:00 น. - 20:00 น. ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดจัด]
ข้าวเมล็ดเต็ม ด้วยคู่นาข้าวเมล็ดเต็ม

ปุ๋ยน้ำ : เร่งข้าวให้ข้าวเมล็ดเต็ม ฉีดตอนข้าวกำลังเป็นน้ำนม

ปุ๋ยน้ำ : คู่นาข้าวเมล็ดเต็ม : เมล็ดเต็ม เร่งเต่ง เร่งรวง เร่งน้ำหนัก ป้องกันข้าวขาดคอรวง ปุ๋ยน้ำ + บูสเตอร์สีส้ม บำรุงผล

คุณสมบัติจำเพาะ
บูสเตอร์ สีส้ม : เร่งการสะสมอาหาร เร่งน้ำหนักเมล็ดข้าว ทำให้ข้าวเมล็ดเต็มและมีน้ำหนักดี
ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว : ประกอบด้วยธาตุอาหาร N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) Ca (แคลเซียม) Mg (แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) Zn (สังกะสี) Fe (เหล็ก) Cu (ทองแดง) Mn (แมงกานีส) Mo (โมลิบดีนัม) Cl (คลอรีน) B (โบรอน) NI (นิกเกิล) พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 05.01023.369 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา

วิธีใช้ และอัตราส่วนการผสม (หนึ่งชุดใช้ได้ประมาณ 5 ไร่)
บูสเตอร์ สูตรสีส้ม 40 ซีซี (3 ฝา) + ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว 40 ซีซี (3 ฝา) ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าว หนึ่งไร่ฉีดประมาณ 80 ลิตร
[ฉีดพ่นตอนไม่มีแดด ช่วงก่อนแดดออก 5:00 น. - 9:00 น. หรือ หลังแดดตก เวลา 16:00 น. - 20:00 น. ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดจัด]

สั่งซื้อ โทรหาฟาร์มเกษตร โทร : 089-4599003

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยโดยเฉพาะ เพิ่มผลผลิตได้สูง


ปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยโดยเฉพาะ เพิ่มผลผลิตได้สูง
ให้ปุ๋ยน้ำกับอ้อยตามช่วงอายุ โดยการฉีดพ่นทางใบ หรือให้ปุ๋ยน้ำผ่านทางระบบน้ำหยดก็ได้
คุณสมบัติจำเพาะ : อุดมด้วย K, Ca, B เพิ่มความหวาน ลำต้นอ้อยสมบูรณ์ เพิ่มผลผลิตอ้อย, เพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อสำหรับการเก็บน้ำตาล, เพิ่มคุณภาพของอ้อย และเพิ่มค่าความหวานของอ้อย (CCS)

รายระเอียดเพิ่มเติม www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00308
--------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ฟาร์มเกษตร (ผู้ประกาศขายสินค้านี้)
เว็บไซต์ www.FarmKaset.ORG
ติดต่อฟาร์มเกษตร
สั่งสินค้า
โทร: 089-4599003
FAX: 045-511273
e-mail: FarmKaset@gmail.com
FarmKaset.ORG เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ (iTAP) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) , Asean SME และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่า FarmKaset.ORG ตั้งอยู่ที่ใด ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ เมื่อทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ จาก FarmKaset.ORG
เกี่ยวกับฟาร์มเกษตรโดยละเอียดกรุณาดูที่ www.farmkaset.org/contact_us.aspx

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สินค้าเกษตร ไอ.เอส.กำจัดเชื้อรา

สินค้าเกษตร ไอ.เอส.กำจัดเชื้อรา

กำจัดเชื้อรา ใบไหม้ ใบจุด ใบขีด ราสนิม
กำจัด เชื้อรา ในนาข้าว มันสำปะหลังไอ.เอส. สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา ปลอดสารพิษ

สกัดจากธรรมชาติ 100%

ราคาและวิธีการสั่งซื้อ
บรรจุขวดละ 3 ลิตร

ตราดับเบิ้ลชีลด์
ขนาด 3 ลิตร
ใบไหม้ ใบจุด ใบขีดสีน้ำตาล ราสนิม
- สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
- ควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (ION Control) ทำให้สภาพแวดล้อมบนใบพืชไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา
- สามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวโดยไม่มีสารพิษตกค้างปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
- เคลือบผิวใบได้ดี โดยไม่ต้องผสมสารจับใบ

ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค

สกัดจากสารอินทรีย์ธรรมชาติทั้งหมด สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราโดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย "การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า" (Ion Control) ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมบนใบพืชไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเชื้อรา ด้วยเหตุนี้ราจึงลดลง และหมดไปในที่สุด รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค

คุณประโยชน์

1. ควบคุมและยับยั้งโรคพืชดังนี้
    1.1 โรคราสนิม (Rust)
    1.2 โรคใบไหม้ (Rice Blast)
    1.3 โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)
    1.4 โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot)
2. ป้องกันการลุกลามของแผล ที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา
3. ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
4. เก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น
5. ไม่มีจุลินทรีย์เป็นส่วนประกอบ
6. มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้น เมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง

วิธีการใช้

สามารถฉีดพ่นโดยไม่ต้องผสมสารจับใบ
ป้องกันการเกิดโรค ทุก 7 วัน 50 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
พบอาการของโรค ทุก 3 วัน 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน ตรานกอินทรีย์คู่

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สินค้าเกษตร รับเบอร์ แม็ก รักษาหน้ายางจากฟาร์มเกษตร


สินค้าเกษตร รับเบอร์ แม็ก รักษาหน้ายางจากฟาร์มเกษตร

วิธีแก้ปัญหาน้ำยางไม่ไหลในยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้ว
น้ำยางไม่ ไหลหรือไหลกระปริดกระปรอยน้อยกว่าเดิมจากที่เคยผลิตได้ในแต่ละครั้ง เนื่องจากต้นยางพาราติดเชื้อโรคหรือที่เรียกกันว่ายางพาราเป็นโรคและโรคที่ ว่านี้เกิดจากการเข้าลายของเชื้อรา เบื้องต้นจะมีอาการใบจุดสีเหลืองมีจุดสีน้ำตาลอยู่กึ่งกลางและค่อยๆขยายวง กว้างออกไปเรื่อยๆเหมือนใบไหม้ นอกจากนี้ยังมีเพลี้ยแป้งเป็นพาหะในการแพร่กระจายของเชื้อราดังกล่าว
รับเบอร์ แม็กซ์ - อาหารเสริมทาหน้ายาง
ตรา นกอินทรีคู่
น้ำยาทาหน้ายาง รับเบอร์ แม็ก รักษาหน้ายาง ช่วยให้หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย ยางหน้าตาย ใช้รับเบอร์เม็ก ทาเพื่อบำรุงบริเวณหน้ายาง ช่วยรักษาหน้ายาง
ด้วย เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเรา เราได้คิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับทาหน้ายาง เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในการเพิ่มปริมาณน้ำยาง โดยการสกัดกรดอะมิโน และธาตุอาหารที่จำเป็นในการส่งเสริมกระบวนการสร้างน้ำยาง ในรูปที่ต้นยางสามารถนำไปใช้ได้ทันที และเห็นผลใน 7 วัน โดยที่ไม่ทำให้หน้ายางเสียหาย รวมทั้งยังมีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการเข้าทำลายหน้ายางจากเชื้อรา ปลอดภัยแก่เกษตรกรผู้ใช้
* เพิ่มขนาดท่อน้ำยาง เเรงดันในท่อน้ำยาง
* หน้ายางนิ่มกรีดง่าย ป้องกันโรคที่เกิดกับหน้ายาง
* เร่งกลไกทางกายภาพในการไหลของน้ำยาง
* ไม่ใช้ฮอร์โมนในการกระตุ้น
* ไม่ทำให้สมดุลของฮอร์โมนพืชเปลี่ยนแปลง
รายระเอียดเพิ่มเติม www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00356
----------------------------------
เกี่ยวกับ ฟาร์มเกษตร (ผู้ประกาศขายสินค้านี้)
เว็บไซต์ www.FarmKaset.ORG
ติดต่อฟาร์มเกษตร
สั่งสินค้า
โทร: 089-4599003
FAX: 045-511273
e-mail: FarmKaset@gmail.com
FarmKaset.ORG เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ (iTAP) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) , Asean SME และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่า FarmKaset.ORG ตั้งอยู่ที่ใด ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ เมื่อทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ จาก FarmKaset.ORG เกี่ยวกับฟาร์มเกษตรโดยละเอียดกรุณาดูที่ www.farmkaset.org/contact_us.aspx

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง


สินค้าเกษตร น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง จากฟาร์มเกษตร
เพิ่่มอาหารสะสมในท่อนพันธุ์ กระตุ้น และส่งเสริมการแตกราก เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์
น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค
* อาหารเสริมสำหรับแช่ท่อนพันธุ์ ปลอดสารพิษ
* เร่งการแตกราก ป้องกันโรค
* เพิ่่มอาหารสะสมในท่อนพันธุ์
* กระตุ้น และส่งเสริมการแตกราก
* เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก ขนาด และจำนวนของราก
* ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์

รายระเอียดเพิ่มเติม http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00239
--------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ฟาร์มเกษตร (ผู้ประกาศขายสินค้านี้)
เว็บไซต์ www.FarmKaset.ORG
ติดต่อฟาร์มเกษตร
สั่งสินค้า
โทร: 089-4599003
FAX: 045-511273
e-mail: FarmKaset@gmail.com
FarmKaset.ORG เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ (iTAP) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) , Asean SME และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่า FarmKaset.ORG ตั้งอยู่ที่ใด ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ เมื่อทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ จาก FarmKaset.ORG เกี่ยวกับฟาร์มเกษตรโดยละเอียดกรุณาดูที่ www.farmkaset.org/contact_us.aspx

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้าวหอมมะลิ


ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) (Official name "Thai Hom Mali") เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก

ประวัติข้าวหอมมะลิ

เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น)ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย

ข้าวหอมมะลิในปัจจุบัน

ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวหอมมะลิราคาตกต่ำลงมาเรื่อยๆ เนื่องจาก ข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 80-100 ถัง/ไร่ ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 นั้นจะให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง/ไร่ และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนา เน้นการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มากกว่า พันธุ์ปทุมธานี 1 แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ

ลักษณะจำเพาะของกลิ่นข้าวหอมมะลิ

ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บ ข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรทางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น (ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน)

เกรดในการจำหน่าย

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%

การส่งออกข้าวหอมมะลิ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 1ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 63 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 และพื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มา เป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547

การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น 96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนีย ตามลำดับ

อ้างอิง : www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00824

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สินค้าเกษตร ไอ.เอส.ไรซ์ ยับยั้งเชื้อราในนาข้าว จากฟาร์มเกษตร


สินค้าเกษตร ไอ.เอส.ไรซ์ ยับยั้งเชื้อราในนาข้าว จากฟาร์มเกษตร
ป้องกันเชื้อรา ปลอดสารพิษ
ไอ.เอส.ไรท์ สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา ปลอดสารพิษ
ตราดับเบิ้ลชีลด์
ช่วยยับยั้งเชื้อราในนาข้าว สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ปลอดภัยต่อคน สัตว์เลี้ยง
ด้วย ไอ.เอส.ไรซ์
ยับยั้งเชื้อรา ในนาข้าว
ใบไหม้ ใบจุด ใบขีด ราสนิม
- สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
- ควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (ION Control) ทำให้สภาพแวดล้อมบนใบพืชไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา
- สามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวโดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
- เคลือบผิวใบได้ดี โดยไม่ต้องผสมสารจับใบ
รายระเอียดเพิ่มเติม www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00355
--------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ฟาร์มเกษตร (ผู้ประกาศขายสินค้านี้)
เว็บไซต์ www.FarmKaset.ORG
ติดต่อฟาร์มเกษตร
สั่งสินค้า
โทร: 089-4599003
FAX: 045-511273
e-mail: FarmKaset@gmail.com
FarmKaset.ORG เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ (iTAP) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) , Asean SME และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่า FarmKaset.ORG ตั้งอยู่ที่ใด ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ เมื่อทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ จาก FarmKaset.ORG
เกี่ยวกับฟาร์มเกษตรโดยละเอียดกรุณาดูที่ www.farmkaset.org/contact_us.aspx

สินค้าเกษตร น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง จากฟาร์มเกษตร


สินค้าเกษตร น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง จากฟาร์มเกษตร
เพิ่่มอาหารสะสมในท่อนพันธุ์ กระตุ้น และส่งเสริมการแตกราก เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์
น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค
* อาหารเสริมสำหรับแช่ท่อนพันธุ์ ปลอดสารพิษ
* เร่งการแตกราก ป้องกันโรค
* เพิ่่มอาหารสะสมในท่อนพันธุ์
* กระตุ้น และส่งเสริมการแตกราก
* เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก ขนาด และจำนวนของราก
* ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์

รายระเอียดเพิ่มเติม http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00239
----------------------------------
เกี่ยวกับ ฟาร์มเกษตร (ผู้ประกาศขายสินค้านี้)
เว็บไซต์ www.FarmKaset.ORG
ติดต่อฟาร์มเกษตร
สั่งสินค้า
โทร: 089-4599003
FAX: 045-511273
e-mail: FarmKaset@gmail.com
FarmKaset.ORG เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ (iTAP) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) , Asean SME และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่า FarmKaset.ORG ตั้งอยู่ที่ใด ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ เมื่อทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ จาก FarmKaset.ORG เกี่ยวกับฟาร์มเกษตรโดยละเอียดกรุณาดูที่ http://www.farmkaset.org/contact_us.aspx

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

สินค้าเกษตร ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษจากฟาร์มเกษตร


สินค้าเกษตร ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษจากฟาร์มเกษตร
ประกอบด้วยจุลินทรีย์สายพันธ์ บีที (BT) ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Bacillus thuringiensis var. aizawai และ Bacillus thuringi
ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้ - บีที [ Aiki-BT ]
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซิส [ Bacillus truringiensis ]
กลุ่มสารเคมี ​: Bacterium
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis var. kurstaki

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ไอกี้-บีที [ Aiki-BT ]
เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

-ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตรูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีผลข้างเคียง กำจัดหนอนด้วยสารอินทรีย์จากธรรมชาติ
-ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อการค้า และการส่งออก หรือผู้ปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง

รายระเอียดเพิ่มเติม http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00240
----------------------------------
เกี่ยวกับ ฟาร์มเกษตร (ผู้ประกาศขายสินค้านี้)
เว็บไซต์ www.FarmKaset.ORG
ติดต่อฟาร์มเกษตร
สั่งสินค้า
โทร: 089-4599003
FAX: 045-511273
e-mail: FarmKaset@gmail.com
FarmKaset.ORG เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ (iTAP) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) , Asean SME และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่า FarmKaset.ORG ตั้งอยู่ที่ใด ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ เมื่อทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ จาก FarmKaset.ORG เกี่ยวกับฟาร์มเกษตรโดยละเอียดกรุณาดูที่ http://www.farmkaset.org/contact_us.aspx

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

เรื่องน่ารู้ของผักคราดหัวแหวน



ผักคราดหัวแหวน

เรื่องน่ารู้ของผักคราดหัวแหวน : ผักเพื่อสุขภาพ แก้ปวดฟัน ต่อกระดูก แก้อักเสบ

ผักคราดหัวแหวนเป็นสมุนไพรที่ชอบขึ้นในที่แฉะๆ พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ผักคราดหัวแหวนจัดว่าเป็นสมุนไพรดอกสวย ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี บางคนเรียกผักคราดหัวแหวนว่า ดอกกระดุมทอง ดอกตุ้มหู บ้าง เพราะดอกผักคราดหัวแหวนดูๆ ไปก็คล้ายหัวแหวนสีทอง บางคนก็บอกว่าคล้ายกระดุมทอง ดูอีกทีก็เหมือนตุ้มหูสีทอง ผักคราดหัวแหวนจึงถูกเรียกกันหลายชื่อ แล้วแต่ว่าใครจะคิดถึงเครื่องประดับชนิดไหน

ผักคราดหัวแหวนเป็นสมุนไพรที่เคยรับรู้มาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ว่า เป็นสมุนไพรแก้ปวดฟัน มีฤทธิ์เป็นยาชาด้วยสารที่ชื่อ Spilanthol และเมื่อจบออกมาทำงานที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ทำสวนสมุนไพรเล็กๆ และได้นำผักคราดหัวแหวนมาปลูกไว้ เมื่อมีคนมาดูงานก็มักจะให้ทดลองกัดดอกของผักคราดหัวแหวนไว้ที่ฟัน แล้วจึงค่อยบอกว่าผักคราดหัวแหวนมีสรรพคุณเป็นยาชา ถึงตอนนั้นปากของเขาก็ชาไปแล้ว เป็นวิธีการให้คนเข้าถึงสมุนไพรอีกวิธีหนึ่ง

เมื่อก่อนที่จะได้พบพ่อเม่ากับคุณตาส่วนนั้นไม่เคยรู้เลยว่า ผักคราดหัวแหวนกินเป็นผักได้ โดยจะกินยอดอ่อน ใบอ่อน แกล้มน้ำพริก แกล้มลาบ และเมื่อเดินทางไปตามหาสมุนไพรแถวๆ ทางเหนือ ทั้งลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พบผักคราดหัวแหวนวางขายเป็นกองๆ อยู่ในตลาดสดมากมาย จนพอจะเดาได้ว่า แถบนี้คงมีการปลูกผักคราดหัวแหวนเป็นพืชผักเศรษฐกิจแน่ๆ ซึ่งต่อมาทราบว่าคนทางเหนือจะเอาผักเผ็ดไปแกงแค คนอีสานจะเอาไปใส่อ่อมปลา อ่อมกบ ส่วนคนทางใต้จะนำผักคราด ไปแกงร่วมกับหอยและปลา รสเผ็ดชาลิ้น หวานๆ ขมๆ

ตอนแรกก็สงสัยอยู่บ้างว่าทำไมคนจึงต้องไปกินผักที่มีรสชาติประหลาดที่สุดชนิดหนึ่ง (จะเป็นรองก็คงผักคาวตอง) เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารจึงทราบว่า ผักคราดหัวแหวนช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออกมามาก ช่วยให้การย่อยอาหารในปากและกระเพาะอาหารดีขึ้น และยังช่วยรักษาอาการต่อมน้ำลายอักเสบได้ด้วย การกระตุ้นต่อมน้ำลายนั้นยังช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลืองจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือสาร Spilanthol มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อปรสิตที่อยู่ในกระแสเลือด เช่น เชื้อมาลาเรีย โดยไม่มีพิษต่อคน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าการกินผักคราดหัวแหวนจะสามารถป้องกันมาลาเรียได้ และการที่ผักคราดหัวแหวนมีรสเผ็ดร้อนจึงช่วยในการขับลม รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ได้อีกด้วย

ผักคราดหัวแหวน…หมอฟันจำเป็น ที่คนทั้งโลกก็รู้

ใครๆ ที่รู้จักผักคราดหัวแหวนต่างก็รู้ดีว่าผักคราดหัวแหวนแก้ปวดฟัน หมอยาไทยใหญ่ ทั้งในฝั่งรัฐฉานและในฝั่งไทย หมอยาไทยเลย หมอยาภาคใต้ และหมอยาภาคกลาง ต่างก็ใช้ผักคราดหัวแหวนเป็นยาแก้ “แมงกินฟัน” (หมอยาพื้นบ้านทุกภาคมีความเชื่อตรงกันว่าการที่ฟันผุนั้นมีพยาธิที่มักจะเรียกกันว่า “แมงกินฟัน” เป็นตัวการทำให้ฟันผุและปวดฟัน) โดยจะใช้เฉพาะดอกขยี้ใส่หรือใช้ทั้งห้าตำผสมเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ซอกฟันที่กำลังปวดจะทำให้หายปวดฟัน ทั้งนี้เพราะผักคราดหัวแหวนมีฤทธิ์เป็นยาชาและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างกว้างขวางจึงทำให้ผักคราดหัวแหวนสามารถใช้แก้ปวดฟันได้ในยามที่ไม่มีหมอฟัน ในหลายประเทศผักคราดหัวแหวนมีฉายาว่า Toothache Plant ซึ่งหมายถึงการใช้เป็นยาแก้ปวดฟันเช่นเดียวกับบ้านเรา

นอกจากจะใช้เป็นยาแก้ปวดฟันตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการนำรากมาต้มเอาน้ำบ้วนปาก แก้อาการอักเสบในช่องปาก แก้เหงือกอักเสบ และแก้เจ็บคอได้อีกด้วย

ผักคราดหัวแหวน…ยารักษากระดูกหัก
ยาห้ามเลือด รักษาแผล

ผักคราดหัวแหวนเป็นยาทำให้กระดูกต่อกันได้ การใช้ผักคราดหัวแหวนในการรักษากระดูกหักนั้นไม่เคยพบที่ไหน จนกระทั่งไปพบกับหมอยาไทยใหญ่ ซึ่งชุมชนไทยใหญ่ยังมีปัญหากระดูกแตกกระดูกหักกันอยู่มากและส่วนหนึ่งยังไม่ศรัทธาการรักษากระดูกหักตามระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ตำรับหนึ่งที่เขาใช้รักษากระดูกหัก กระดูกแตกคือการใช้ผักคราดหัวแหวนตำรวมกับตะไคร้พอกกระดูกไว้ เปลี่ยนยาทุก ๖ วัน ครบ ๔๑ วัน กระดูกจะต่อกันติด ซึ่งอาจเป็นเพราะผักคราดหัวแหวนมีฤทธิ์ร้อนทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์แก้อักเสบ จึงอาจช่วยเรื่องกระดูกหักได้ ผักคราดหัวแหวนยังเป็นยาห้ามเลือดที่ดีชนิดหนึ่งเมื่อมีบาดแผล ชาวบ้านจะขยี้หรือตำต้นสดพอกแผลเลือดจะหยุดไหล

ผักคราดหัวแหวน…ยาแก้ปวดตามกระดูกและกล้ามเนื้อ
ยารักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชา

หมอยาพื้นบ้านหลายพื้นที่ยังนิยมใช้ผักคราดหัวแหวนเป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดบวม ฟกช้ำ โดยตำทั้งต้นใส่น้ำพอชุ่มพอกบริเวณที่ปวดบวม ฟกช้ำ จะระงับอาการปวดบวมและแก้อักเสบได้ สำหรับคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชา จะใช้ผักคราดหัวแหวนกับพริกไทย หัวอุตพิด ในอัตราส่วนเท่าๆ กันผสมน้ำมันพืชทา หรือจะใช้ผักคราดหัวแหวนกันสมุนไพรที่มีรสร้อนตัวอื่นๆ เช่น ข่า ไพล ตะไคร้ ก็ได้ ขึ้นกับว่าในท้องถิ่นมีสมุนไพรอะไรอยู่ หรือใส่ในยาอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดตามข้อก็ได้
ผักคราดหัวแหวน…ยาสำหรับผู้หญิง

ผักคราดหัวแหวนเป็นยาแก้ปวดประจำเดือนที่ดีชนิดหนึ่ง โดยจะคั้นน้ำจากต้นสดของผักคราดหัวแหวนผสมน้ำผึ้งรับประทาน ส่วนหมอยาพื้นบ้านภาคใต้จะใช้ต้นสดของผักคราดหัวแหวน ผสมน้ำมะนาวทำเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา กินครั้งละ ๑ เม็ดหลังอาหาร ผักคราดหัวแหวนยังนิยมใช้ใส่ในยาอบหรือยาอาบหลังคลอดโดยใช้ร่วมกับใบหนาดใหญ่และใบมะขาม เพื่อบำรุงเลือดลมสตรีให้ทำงานเป็นปกติ

พ่อหมอยาบอกว่าผักเผ็ดที่มีฤทธิ์ดีในการนำมาทำยานั้นควรเป็นผักเผ็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติ

คุณค่าทางยาพื้นบ้าน


มีสรรพคุณเป็นอาหารบำรุงธาตุหญิงหลังคลอด และมีอาการวิงเวียนศีรษะ


เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาแสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00779