หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ยางพาราพัฒนาโลก


ยางพาราพัฒนาโลก

ยางพาราเป็นยางที่ได้มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้นยางพารา (เรียกตามภาษาพฤกษศาสตร์ว่า Hevea brasiliensis) สามัญชนทั่วไป เรียกว่า ยางพารา หรือ ต้นยางพารา (para rubber) ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อประมาณ 100 ปี มาแล้ว ยางชนิดที่กล่าวนี้ซื้อขายกันที่เมืองพารา ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพื่อสะดวกแก่การซื้อขายกันในครั้งนั้นจึงเรียกยางชนิดนี้ว่า "ยางพารา" ในระยะนั้นมียางที่ได้จากต้นไม้อยู่หลายชนิด เช่น ยางแคสติลลาในอเมริกากลาง ยางพันทุเมียจากแอฟริกา และยางอินเดียรับเบอร์ในเอเชียตอนใต้ ถิ่นเดิมของต้นยางพาราอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิล ต้นยางพาราเป็น ไม้ป่าขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน ทั้งในที่ดอน และที่ลุ่มของแม่น้ำอะเมซอน จนถึงประเทศเปรู ชาวพื้นเมือง คือ ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาใต้ และอเมริกากลางรู้จักยางมานานแล้ว และได้นำเอามาใช้ทำประโยชน์มาหลายร้อยปี ก่อนที่ชาวยุโรปจะไปพบโลกใหม่ หรือทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นถิ่นเดิมของต้นยางพารา ชาวอินเดียนแดงได้ใช้ยางทำลูกบอล ทำผ้ากันฝน และทำถุงเก็บน้ำปากแคบ เป็นต้น

ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติอื่นๆ คือ ยางพาราจะทำให้อ่อน ให้นุ่ม ยืดหยุ่นหรือแข็งถึงขนาดใช้แทนโลหะบางชนิดก็ได้ เก็บน้ำได้ อัดลมไว้ได้ ไม่รั่ว และยังเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย เนื่องจากยางพาราใช้ทำประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง ความต้องการที่ใช้ยางเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีมาแล้วจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยมา แต่จำนวนยางพารารวมทั้งยางอื่นๆ ที่จะกรีด เก็บอามาจากป่าในครั้งนั้น มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นได้ยาก เกรงกันว่าต่อไปจะขาดแคลนลง และประเทศต่างๆ ที่มียางก็คงจะไม่จำหน่ายให้ หรือไม่ก็คงจำหน่ายในราคาแพง ในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๐-๒๔๒๐ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมานี้ จึงได้มีการพยายามที่จะหาทางปลูกต้นยางให้มากขึ้น ในที่สุดได้มีการนำเมล็ดต้นยางพาราจากลุ่มน้ำอะเมซอนมาปลูกในทวีปเอเชีย ในแหล่งที่มีดินฝน และความชื้นใกล้เคียงกับถิ่นเดิมของต้นยางพารา คือ แผ่นดินที่อยู่ในระหว่างเส้นขนานที่ ๒๘ องศาเหนือ และ ๒๘ องศาใต้ ผู้ที่ได้รับเกียรติในการนำเมล็ดพันธุ์ยางพารามาจากลุ่มน้ำอะเมซอนอย่างเป็นล่ำเป็นสันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นจำนวนถึง ๗๐,๐๐๐ เมล็ด คือ มร. เฮนรี วิค แฮม ซึ่งต้อมาได้รับบรรดาศักดิ์ "เซอร์" (Sir Henry A. Wickham) เมล็ดยางจำนวนนี้ได้ส่งไปเพาะที่อุทยานคิว (Roya botanic Gardens, Kew) ในกรุงลอนดอน ได้เมล็ดงอก และชำไว้ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ต้น ได้ส่งมายังประเทศศรีลังกาในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ส่วนมากตายหมด ในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้ส่งมาที่สิงคโปร์อีก ๒๒ ต้นนี้ ได้แพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ปรากฏว่า ในเอเชียมีการปลูกต้นยางพาราขึ้นเป็นจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าไร่ และในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕ ประเทศไทยก็ได้เริ่มปลูกสร้างสวนยางขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า แหล่งปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ เอเชีย ส่วนที่ประเทศบราซิลมีการปลูกสร้างเป็นสวนน้อยมาก

อ้างอิง :http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00697

กระดังงา สมุนไพร



กระดังงา


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. odorata

ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree

วงศ์ : ANNONACEAE

ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน

สรรพคุณ กระดังงา :
*ดอกแก่จัด - ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
*ใบ, เนื้อไม้ - ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ

วิธีใช้ กระดังงา  :

1.ใช้ดอกกลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย
2.การแต่งกลิ่นอาหาร ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

สารเคมีของ กระดังงา : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl benzoate p-totyl methylether, methylether, benzyl acetate


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00695