หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้มงคล หมากนวล

ไม้มงคล หมากนวล


ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

ตระกูล

ชื่ออื่น
Manila palm Christmas palm

Veitchia merrillii

PALMAE

หมากมนิลา ปาล์มเยอรมัน หมากคอนวล

ลักษณะทั่วไป ของ ไม้มงคล หมากนวล

หมากนวลเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลำต้นตรงสูง ผิวลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบรวม แตกออกจากทางใบเป็นรูปขนตก เรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบลักษณะใบแคบยาว ขนาดใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 - 60 เซนติเมตรตัวใบมีสีเขียวเรียบเป็นมันทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตรลักษณะโค้งเล็กน้อยโคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้นมีสีเขียว อ่อนปนขาวนวลออกดอกเป็นช่อคล้ายจั่นหมากก้านดอกมีสีขาวนวลลักษณะของดอกมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากมีสีขาว อมเหลือง ผลเล็กกลมรีมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียงเมล็ดเดียว

การเป็นมงคล ของ ไม้มงคล หมากนวล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากนวลไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอ่อนน้อมความมีน้ำใจเพราะหมากนวลมีการแตก ใบที่สวยงานลักษณะที่มีความนิ่มนวลอ่อนไหวนอกจากนี้ลักษณะการแตกใบของหมากนวลยังมีลักษณะที่โดดเด่นสง่านวลชวน มองนอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบหมากนวลไว้ว่าเป็นชื่อหมากชนิดหนึ่งที่ใช้รับประทานในสมัจโบราณคือหมากสงให้ในพิธี ต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นจึงแสดงถึงการมีนิสัยใจคอที่ดี มีน้ำใจงาม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก  ของ ไม้มงคล หมากนวล

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากนวลไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ที่ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก ไม้มงคล หมากนวล

มี 2 วิธี

1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2.การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร เหมาะที่จะใช้กับต้นหมากนวลที่มีอายุระหว่าง 1-3 ปี การปลูกควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 14-24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 :1 ผสมดินปลูกควร เปลี่ยนกระถางทุก12ปีแล้วแต่ความเหมาะสมของของการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตทั้งนี้เพราะการขยายตัวของ รากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

การดูแลรักษา ไม้มงคล หมากนวล


แสง

น้ำ

ดิน

ปุ๋ย

การขยายพันธ์

โรค

แมลง

อาการ

การป้องกัน

การกำจัด
ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

ต้องการปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง

ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง

ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 2-4 ครั้ง

การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อโรคได้ดี

เพลี้ยต่าง ๆ

ใบถูกกัดแทะ เป็นรู และเป็นรอย ทำให้ต้นแคระแกร็นและเสียรูปทรง

รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก

ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก


เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00754

สมุนไพรเครือหมาน้อย

เครือหมาน้อย

เรื่องน่ารู้ของเครือหมาน้อย กรุงเขมา : วุ้นธรรมชาติ ยาเย็น แก้ไข้ แก้ปวด
เรื่องของเครือหมาน้อย...วุ้นธรรมชาติ
อาหารสุขภาพของชาติพันธุ์ ไทย-ลาว

ในสมัยเด็กเวลาเดินตามคันนาจะเห็นไม้เถาเลื้อยพันชนิดหนึ่ง ใบเป็นรูปหัวใจแต่โคนใบเป็นแบบก้นปิด หน้าใบและหลังใบมีขนปกคลุมหนา ชอบเอามือลูบใบของมันเล่นเพราะขนมันนุ่มเหมือนขนหมาน้อย แม่บอกว่ามันชื่อ เครือหมาน้อย และทำเป็นขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกินได้ ยายเคยทำให้แม่กิน (ต้นตระกูลของคนตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นชาติพันธุ์ไทยลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ ๓) พอโตขึ้นก็ไม่เคยเห็นเจ้าเครือหมาน้อยอีกเลย ไปพบเครือหมาน้อยอีกครั้งตอนไปเวียงจันทน์เมื่อสิบกว่าปีก่อนตอนพาแม่ไปเที่ยว ได้เห็นขนมวุ้นเขียวๆ เหมือนเฉาก๊วยสีเขียว แม่บอกว่านี่แหละคือ วุ้นเครือหมาน้อย จึงได้กินเครือหมาน้อยเป็นครั้งแรก รู้สึกเย็นชื่นใจ และเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๕๑ ได้กลับไปเวียงจันทน์อีกครั้ง และไปกินอาหารที่ร้านอาหารของสนามบินซึ่งบริการแบบบุฟเฟต์ ที่นี่มีวุ้นเครือหมาน้อยเป็นของหวานให้ตักกินด้วยเช่นกัน

เป็นที่น่าดีใจว่าในเมืองไทย เครือหมาน้อยยังถูกใช้ทำเป็นอาหารอยู่ในหลายชุมชน หลังจากการกลับมาจากเวียงจันทน์ได้ไปเก็บข้อมูลการใช้สมุนไพรไทยพวนที่บ้านดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี พบว่าในชุมชนไทยพวนยังมีการปลูกเครือหมาน้อยเพื่อทำวุ้นเครือหมาน้อย เพื่อนำไปทำเป็นอาหารหวานและอาหารคาว มีสรรพคุณเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ส่วนคนไทยเลยยังใช้น้ำคั้นจากรากและใบของเครือหมาน้อยใส่ในแกงหน่อไม้แทนใบย่านาง

ปัจจุบันกลุ่มอินแปง จังหวัดสกลนคร มีการเพาะกล้าเครือหมาน้อยจำหน่าย และยังพบว่าในตลาดมหาชัยเมืองใหม่ พระราม ๒ มีใบสดของเครือหมาน้อยวางขายอยู่ในตลาดด้วย เครือหมาน้อยทำเป็นวุ้นได้เพราะในใบมีสารเพคตินธรรมชาติถึงร้อยละ ๓๐ สารเพคตินนี้จะเป็นพวกเดียวกับวุ้นพุงทะลายหรือวุ้นในเม็ดแมงลัก เพคตินมีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำเป็นการเพิ่มกากอาหารให้ลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย ลดระยะเวลาของอุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ช่วยดูดซับสารพิษที่เกิดขึ้นจากการย่อยกากอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารพิษตกค้างอื่นๆ เป็นการลดปัจจัยหรือความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งยังลดการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารของผู้ป่วยเบาหวานและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ดี

เครือหมาน้อย...ยาเย็น แก้ปวดหลังปวดเอว แก้ไข้ แก้เจ็บคอ

หมอยาพื้นบ้านทุกภาคนิยมใช้รากเครือหมาน้อยเป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดหลังปวดเอว แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ไข้ออกตุ่ม โดยจะฝนกินหรือต้มกินก็ได้ จะใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นหรือใส่ในยาชุม (ยาตำรับที่มีสมุนไพรหลายชนิดผสมกัน) ที่รักษาโรคและอาการเหล่านั้นได้ เช่นเดียวกับหมอยาพื้นบ้านชาวบราซิลที่ใช้เครือหมาน้อยในการแก้ไข้ แก้ปวด และหมอยาพื้นบ้านชาวอินเดียแดงก็ใช้การต้มใบและเถาของเครือหมาน้อยกินเพื่อแก้ปวด การศึกษาสมัยใหม่พบว่าเครือหมาน้อยมีฤทธิ์แก้ปวด แก้อักเสบได้ดี ซึ่งสนับสนุนการใช้ของหมอยาพื้นบ้านเหล่านั้น

ส่วนพ่อหมอประกาศ ใจทัศน์ ที่บ้านน้อมเกล้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ใช้รากเครือหมาน้อยฝนกับน้ำมะพร้าวให้กินแทนน้ำไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาประดงไฟ ซึ่งมีลักษณะอาการออกร้อนตามตัวซึ่งภาษาทางการแพทย์เรียกว่า burning sensation

เครือหมาน้อย...ยาของผู้หญิง
ยาปรับประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้ทับระดู

หมอยาไทยพวนใช้หัวของเครือหมาน้อยฝนกินกับน้ำแก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้ทับระดู ปรับสมดุลของประจำเดือนให้เป็นปกติทั้งอาการที่มีประจำเดือนมากหรือน้อย ซึ่งคล้ายกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านประเทศในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ โดยหมอยาเหล่านั้นใช้เถา ราก ใบ เปลือก ของเครือหมาน้อยระงับอาการปวดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดทั้งใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด โดยให้ฉายาเครือหมาน้อยว่า สมุนไพรของหมอตำแย (Midwives's herb) ทั้งยังใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบประจำเดือนของผู้หญิง เช่น อาการปวดประจำเดือน มีประจำเดือนออกมามากเกินไป อาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome, PMS) รวมทั้งรักษาสิวที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยมีความเชื่อร่วมกันว่า เครือหมาน้อยเป็นยาปรับสมดุลฮอร์โมนของผู้หญิง การใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณนี้มีการใช้อย่างต่อเนื่องกันมาเป็นพันๆ ปี จนถึงปัจจุบัน

การใช้เครือหมาน้อยเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงนั้น หมอยาไทยใหญ่ก็มีการใช้เหมือนกัน โดยหมอยาไทยใหญ่บางท่านเรียกเครือหมาน้อยว่า "ยาไม่มีลูก" โดยใช้รากของเครือหมาน้อยต้มกินไปเรื่อยๆ แทนยาคุมกำเนิด (แต่ไม่แนะนำให้ใช้เพราะมียาคุมกำเนิดที่ดีอยู่แล้ว)

เครือหมาน้อย...ช่วยย่อย แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ปวดเกร็งในท้อง

หมอยาไทยเลยใช้เครือหมาน้อยเป็นยารักษาระบบทางเดินอาหารในหลายๆ อาการ เช่น ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกท้อง แก้กินผิด (อาการวิงเวียนศีรษะ มืนหัวหลังกินอาหารบางชนิด) แก้ท้องบิด แก้ท้องเสีย แก้เจ็บท้อง (อาการปวดเกร็งที่ท้อง) แก้ถ่ายเป็นเลือด โดยใช้รากต้มกิน หมอยาพื้นบ้านในอเมริกาใต้ก็ใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณเดียวกัน คือใช้ต้านอาการปวดเกร็งทั่วไป และใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome, IBS) โรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น การศึกษาสมัยใหม่พบว่า เครือหมาน้อยมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องเสีย

เครือหมาน้อย...ยาเย็น พอกสิว พอกหน้า บำรุงผิวพรรณ

ข้อมูลจากการสัมมนาหมอยาพื้นบ้านเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว หมอยาในจังหวัดปราจีนบุรีแนะนำให้ขยี้ใบเครือหมาน้อยให้เป็นวุ้นพอกรักษาฝี อาการปวดบวมตามข้อ หรืออาการอักเสบของผิวหนัง ผดผื่น คัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย นอกจากนั้นยังใช้พอกหน้าสำหรับผู้หญิงที่เป็นสิวผิวพรรณไม่ดีอีกด้วย

เครือหมาน้อย...ยาลดความดัน

เครือหมาน้อยยังใช้เป็นยาลดความดันในกลุ่มหมอยาไทยใหญ่ โดยใช้ทั้งต้นต้มน้ำกิน หมอยาพื้นบ้านบราซิลก็ใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณนี้เช่นกันโดยใช้ราก ต้น เปลือก ใบ ของเครือหมาน้อยต้มกิน เพื่อใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง นิ่ว ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า สารสกัดจากเครือหมาน้อยสามารถลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลองได้

เครือหมาน้อย...ยาอายุวัฒนะ

หมอยาไทยเลยจะใช้รากเครือหมาน้อยทำเป็นผงละลายกินกับน้ำผึ้ง หรือขยี้กับน้ำดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ รวมทั้งใช้รากเครือหมาน้อยไปเป็นส่วนประกอบในแป้งเหล้า โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงร่างกาย ซึ่งชนเผ่า Creoles ใน Guyana จะแช่ใบ เปลือก ราก ในเหล้ารัมเพื่อบำรุงสมรรถภาพทางเพศ

ข้อควรระวัง! ไม่ควรใช้ในคนท้อง

วิธีการทำอาหารจากเครือหมาน้อย
เลือกใบเครือหมาน้อยที่มีสีเขียวเข้มที่โตเต็มที่แล้วประมาณ ๑๐-๒๐ ใบ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาขยี้กับน้ำสะอาด ๑ ถ้วย เวลาขยี้ใบจะรู้สึกเป็นเมือกลื่นๆ เมื่อขยี้จนได้น้ำสีเขียวเข้มให้กรองเอากากใบเครือหมาน้อยออก บางคนคั้นน้ำจากใบย่านางใส่ลงไปด้วยจะทำให้วุ้นแข็งตัวเร็ว จากนั้นนำน้ำวุ้นที่ได้ปรุงรสตามชอบ หากต้องการรับประทานเป็นของคาวก็เติมพริกป่น ปลาป่น เนื้อปลาต้มสุก หัวหอม น้ำปลา ข้าวคั่ว ใบหอม และผักชีหั่น ถ้าอยากแซบก็ใส่น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาก็ได้ หรือถ้าต้องการรับประทานเป็นของหวาน อาจคั้นน้ำใบเตยใส่เพิ่มลงไป การใส่เกลือลงไปเล็กน้อยจะช่วยให้วุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น แต่อย่าใส่มากจะออกรสเค็ม ตั้งทิ้งไว้อีกประมาณ ๔-๕ ชั่วโมง น้ำคั้นจะจับตัวเป็นก้อนเหมือนวุ้น มักเรียกว่า วุ้นหมาน้อย แล้วเติมน้ำหวานหรือน้ำตาลลงไป รับประทานเป็นอาหารว่างที่ทั้งอร่อยและมีประโยชน์ทางยาอีกด้วย

หมายเหตุ
ชาวไทยพวนนิยมคั้นเครือหมาน้อยกับใบย่านาง จะทำให้วุ้นเครือหมาน้อยแข็งตัวได้ดีกว่า เพราะในใบย่านางจะมีเกลือแร่อยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นวุ้นได้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับการใส่น้ำปลา น้ำปลาร้า หรือเกลือ ช่วยทำให้เกิดวุ้นได้ดีเช่นกัน

เครือหมาน้อยเป็นสมุนไพรที่มีการใช้กันมาอย่างต่อเนื่องในหมู่หมอยาพื้นบ้านในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือนานนับพันปีจนถึงปัจจุบันและเป็นที่น่าแปลกใจว่าแม้อยู่กันคนละทวีปกับบ้านเรา แต่ก็มีการใช้ในสรรพคุณที่เหมือนๆ กันเป็นส่วนใหญ่ ”

เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00751

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรครอบฟันสี ยาเบาหวาน ยาไต ยาแก้เจ็บคอ

สมุนไพรครอบฟันสี : ยาเบาหวาน ยาไต ยาแก้เจ็บคอ

ครอบฟันสี มีชื่อที่หมอยาพื้นบ้านปราจีนบุรีนิยมเรียกกันว่า "หมากก้นจ้ำ" เป็นสมุนไพรใช้สำหรับคุมระดับน้ำตาลในเลือด ที่เขาเรียกหมากก้นจ้ำนั้น เกิดจากการที่เด็กๆ รุ่นพ่อหมอเหล่านั้นชอบเอาผลของหมากก้นจ้ำเอามาต่อกัน เนื่องจากผลมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ จึงเอาก้นมันมาจ้ำต่อกันได้พอดี และจากลักษณะของผลที่เป็นกลีบๆ คล้ายฟันที่ใช้สีข้าว จึงเรียกกันอีกชื่อว่า ครอบฟันสี หรือบางคนก็เรียก มะก่องข้าว มะอุบข้าว กระติ๊บข้าว ก็มี เพราะลักษณะผลเหมือนกระติบข้าวเหนียวด้วย ส่วนคนโคราชจะเรียกครอบฟันสีว่า โพะเพะ เนื่องจากเด็กสมัยก่อนจะเอาใบมาเล่น โดยทำมือเป็นวงกลมเอาใบของครอบฟันสีวางลงแล้วใช้มือตบ ใบจะแตกดังโพะ

นอกจากชื่อที่ได้กล่าวมายังมีหมอยาบางท่านเรียกว่า ครอบจักรวาล เพราะสมุนไพรต้นนี้มีสรรพคุณทางยาครอบจักรวาลนั่นเอง ชื่อที่แปลกไปสักหน่อยคือ พรมชาติ เป็นชื่อเรียกครอบฟันสีในแถบภาคกลางบางพื้นที่โดยมีความหมายว่ารักษาได้สารพัดโรคเช่นกัน

ครอบฟันสี...ยาดีของผู้ป่วยเบาหวาน

เมื่อยี่สิบปีก่อนได้จัดเสวนาหมอยาพื้นบ้านจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้รู้ว่าครอบฟันสีหรือที่พ่อหมอนิยมเรียก “ก้นจ้ำ” เป็นสมุนไพรที่คนป่วยเป็นโรคเบาหวานต้มกินเพื่อใช้คุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล (ตอนนั้นยังไม่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า) หมอยาทุกคนจะรู้เหมือนๆ กันหมดถึงสรรพคุณนี้ของก้นจ้ำ มาสนใจเจ้าก้นจ้ำอีกครั้งเมื่อสองปีที่ผ่าน ก่อนครั้งที่ “คุณสมัย คูณสุข” ผู้นำกลุ่มสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง เล่าให้ฟังว่า แกได้ให้คนในหมู่บ้านที่เป็นเบาหวานนำผลก้นจ้ำไปต้มน้ำกิน ทีละ ๘-๙ ผล ต่อน้ำประมาณ ๒ ลิตร แล้วมีผลทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป จึงได้แนะนำให้กินลดลงเหลือ ๔-๕ ผลต่อน้ำประมาณ ๒ ลิตร ต้มดื่มต่างน้ำ พบว่าได้ผลดี ผู้ป่วยสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ ตอนนี้คุณสมัยจึงมีอาชีพเสริมคือการเก็บผลก้นจ้ำจำหน่ายด้วย

ความรู้เรื่องการใช้ครอบฟันสีนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งเมื่อได้มาจัดรายการวิทยุ ในรายการ “สุขภาพสู่เศรษฐกิจ” คลื่น A.M. ๘๑๙ ช่วงเวลาประมาณสี่ทุ่มครึ่งถึงห้าทุ่ม เป็นรายการสดที่ในช่วงท้ายของรายการจะเปิดสายให้ผู้ฟังทางบ้านโทรศัพท์เข้ามาสอบถาม ให้คำแนะนำ ให้ความรู้หรือแบ่งปันประสบการณ์กัน ซึ่งเริ่มจัดมาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๘ ท่านผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นคนชนบทและสูงอายุ มักจะมีความรู้เรื่องสมุนไพรมาแบ่งปันในรายการเสมอๆ ซึ่ง “คุณสมพงษ์ ยอดปรางค์” คนบ้านดอนถั่วแปบ ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ยืนยันว่า “นายสน ขุนชัย” คุณตาของท่านซึ่งเป็นหมอยาพื้นบ้านตำบลบ้านปรางค์ ซึ่งเสียชีวิตด้วยวัย ๙๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ใช้ต้นครอบฟันสีทั้ง ๕ รักษาโรคเบาหวาน ไม่ใช้เฉพาะผลอย่างเดียว ทั้งยังยืนยันว่า นอกจากลดน้ำตาลแล้วคนที่เป็นแผลเปื่อยจากเบาหวานก็หายได้ และ “คุณแพง สีดวงมาลัย” ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่มีบ้านเดิมอยู่ที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม คุณแพงมีพ่อเป็นหมอยาพื้นบ้านก็ได้ยืนยันมาเช่นเดียวกัน และยังมีท่านผู้ฟังอีกหลายท่านที่โทรศัพท์เข้ามายืนยันถึงสรรพคุณนี้กับทางรายการ

จากการค้นคว้าทางเอกสารพบว่า ในประเทศอินเดียก็ใช้ครอบฟันสีรักษาโรคเบาหวานเช่นกัน และปัจจุบันมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ครอบฟันสีมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้

ครอบฟันสี…ขับปัสสาวะ รักษาปัสสาวะลำบาก ปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ

สรรพคุณที่โด่งดังของครอบฟันสีที่รองมาจากเบาหวานคือ การใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย รู้สึกปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ หรือที่ทางการแพทย์แผนใหม่จะเรียกโรคนี้ว่าการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือ Urinary Tract Infection มีชื่อย่อๆ ว่ายูทีไอ (UTI) โรคนี้มักจะเป็นในผู้หญิง เมื่อตอนตัวเองป่วยด้วยโรคนี้ “คุณประวิง กลิ่นไกล” เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ต้มต้นครอบฟันสีทั้ง ๕ มาให้กิน โดยความรู้ในการใช้ครอบฟันสีกับอาการเหล่านี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่นอกเมืองในแถบปราจีนบุรีเมื่อยี่สิบปีก่อนจะรู้จักใช้กันดี แม้จะไม่ใช่หมอยาก็ตาม และเมื่อได้มาจัดรายการวิทยุ ก็ได้มีผู้ฟังหลายท่านได้โทรศัพท์เข้ามาบอกสรรพคุณของครอบฟันสีในการใช้เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงไต รวมทั้งหมอยาอีกหลายๆ ท่านที่ได้ไปสอบถามทุกท่านก็บอกตรงกันว่า รากของครอบฟันสีใช้ในสรรพคุณดังกล่าว ซึ่งจีนและอินเดียต่างก็ใช้ครอบฟันสีในการรักษาโรคและอาการดังกล่าวด้วยเช่นกัน งานวิจัยสมัยใหม่พบว่าครอบฟันสีมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะและต้านเชื้อแบคทีเรีย

ครอบฟันสี… แก้แผลพุพอง ปวดในกระดูก แก้ไข้

สรรพคุณเด่นอีกอย่างของครอบฟันสีคือการรักษาแผลพุพอง แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ซึ่งทั้งคุณสมพงษ์ ยอดปรางค์และคุณพิทักษ์ ตีเหล็ก (เจ้าพนักงานเภสัชกรรมที่มีตาเป็นหมอยาพื้นบ้าน จังหวัดนครราชสีมา) ต่างยืนยันถึงสรรพคุณในการรักษาแผลเบาหวาน แผลพุพองของครอบฟันสี ซึ่งสรรพคุณนี้ในอินเดียก็ใช้เช่นกัน ปัจจุบันมีการศึกษาผลของครอบฟันสีกับการหายของแผลพบว่า ครอบฟันสีทำให้แผลหายเร็วขึ้นโดยทำให้คอลลาเจนมาเกาะที่แผลมากขึ้น มีการเรียงตัวและการเติบโตดีขึ้น คุณพิทักษ์ ตีเหล็กยังบอกว่า ครอบฟันสีใช้ต้มกินแก้อาการปวดในกระดูกและแก้ไข้ ซึ่งมีหมอยาบางท่านเคยพูดถึงสรรพคุณนี้ของครอบฟันสีไว้ด้วย และหมอยาบางท่านบอกว่าอาจใช้ต้มอาบ ประคบหรือพอกร่วมกับการต้มกินด้วยก็ได้ ทั้งยังสอดคล้องกับการใช้ในอินเดียซึ่งใช้ครอบฟันสีในการแก้ปวด แก้ไข้ด้วยเหมือนกัน ในการศึกษาสมัยใหม่พบว่าครอบฟันสีมีฤทธิ์แก้ปวด แก้อักเสบได้ในห้องทดลอง

ครอบฟันสี...แก้เจ็บคอ ต่อมทอลซิลอักเสบ

หมอยาจีนยังนิยมใช้ครอบฟันสีในการรักษาอาการหวัด เจ็บคอ ต่อมทอลซิลอักเสบ ไอ หลอดลมอักเสบ สรรพคุณเช่นนี้ “คุณพานี นิ่มนุ่ม”จาก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ลูกสาวแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ฟังรายการวิทยุได้ยืนยันอย่างเข้มแข็งว่าสามารถใช้ได้จริง โดยจะใช้รากของครอบฟันสีทุบๆ แล้วแช่น้ำส้มสายชูไว้ประมาณหนึ่งชั่วโมง จากนั้นใช้อมรักษาอาการดังกล่าว


เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00749

วิธีปลูกกล้วย



การปลูกกล้วยไข่

กล้วยไข่ หรือ กล้วยกระ,กล้วยเจ็กบอง กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยงานน่ารับประทาน

ลักษณะทั่วไป

- ต้น ลำต้นสูง 2. 5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 - 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประสีน้ำตาลอ่อน ด้านในสีชมพูอมแดง
- ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านมีครีบสีชมพู
- ดอก ก้านช่อดอก มีขนอ่อน ปลีรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในที่โคนกลีบสีซีด
- ผล เครือหนึ่งมี 6 - 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก ก้านผลสั้น เปลือกผลบางเมื่อสุก มีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีม อมส้ม รสหวาน

พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ที่เหมาะสม

สภาพพื้นที่
- พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
- การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน
- ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
- มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
- ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0

แหล่งน้ำ
- มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
- เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

การเตรียมดิน
- วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
- ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
- คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

วิธีการปลูกกล้วยไข่
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไป  อีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
- ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือ  หน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
- การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุม  ปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา
การพรวนดิน: ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช:ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย:ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้งวิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ การให้น้ำ:ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม
 

เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00745

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรกะเม็ง รักษาโรคตับ



สมุนไพรกะเม็ง

เรื่องน่ารู้ของกะเม็ง : สมุนไพรรักษาตับ สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง สมุนไพรรักษาระบบประสาท

เรื่องราวของกะเม็ง...ฮ่อมเกี่ยว ยาดี ของหมอยาพื้นบ้าน

ความที่เป็นลูกชาวนาจึงรู้จักกะเม็งตั้งแต่เด็กๆ มันชอบขึ้นตามริมคันนา แต่น่าเสียดายว่าชาวนาจังหวัดนครนายกในแถบอำเภอเมืองไม่มีใครรู้จักชื่อของกะเม็ง รู้แต่ว่ามันเป็นยาเพราะเขาเคยเห็นหมอยาสมัยก่อนเก็บไปใช้ แต่เมื่อได้ไปถามหมอยา คุณตาส่วน สีมะพริก ท่านเรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า ฮ่อมเกี่ยว และได้อ่านในตำรายา พบว่า ฮ่อมเกี่ยว ซึ่งบางครั้งก็เรียกเพี้ยนเป็นฮ่อมแก่วอยู่บ้างนั้น ใช้เข้ายาอยู่หลายตำรับ เรียกว่าเป็นสมุนไพรยอดฮิตตัวหนึ่งทีเดียว เรื่องน่าสนใจก็คือ หมอยาตระกูลไทย-ลาว ทั้งหมอยาล้านนา หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาไทยเลย หมอยาไทยพวน ต่างเรียกกะเม็งว่า ฮ่อมเกี่ยว เหมือนกันทั้งนั้น

กะเม็ง…ยาแก้เกี่ยว อาการทางประสาท อาการชัก ไข้

หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาล้านนา มักจะเรียกกะเม็งว่า “ฮ่อมเกี่ยว” ใช้รักษาอาการ “เกี่ยว” อาการเกี่ยวนั้นน่าจะเป็นอาการทางประสาท เป็นลมวิงเวียน ชักเกร็ง มือเกร็งและเกี่ยวกัน ซึ่งอาการเช่นนี้คล้ายๆ กับโรค Hyperventilation ในแผนปัจจุบัน วิธีใช้นั้นจะใช้ฮ่อมเกี่ยวเป็นตัวหลักตำคั้นน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมตัวอื่นๆ เช่น ขิง ว่านเปราะหอม เป็นต้น แล้วใช้น้ำคั้นที่ได้ให้ผู้ป่วยจิบ และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นสมุนไพรเหล่านั้นเช็ดหน้า คลุมหัวผู้ป่วยไว้

การศึกษาวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์คลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ โดยกะเม็งไปมีฤทธิ์เพิ่มระดับ Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาตอนกลางคืน ซึ่งสารนี้จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เหมาะแก่การนอนหลับ

กะเม็ง...รักษาตับ

กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)

ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้วย

กะเม็ง…ยาอายุวัฒนะ
กะเม็งยังเข้ายาอายุวัฒนะหลายตำรับ มีทั้งใช้เดี่ยวๆ และใช้เข้ายาตำรับร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยทำเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาชงกินแทนน้ำชาทุกวันก็ได้ และมีตำรับที่ใช้การตำคั้นกะเม็งผสมน้ำผึ้งกินทุกวันเดือนดับก็มี จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด

นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยนำต้นกะเม็งตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปคั่วให้พอหอม ชงน้ำร้อนดื่มเป็นน้ำชารับประทานดียิ่งนัก

กะเม็ง...รักษาแผล โรคติดเชื้อทางผิวหนัง แก้อักเสบ

หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย

กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล แก้ปวดฟันหรือจะใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และกะเม็งยังใช้รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ

กะเม็งยังสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี

สรุป กะเม็ง เป็นพืชล้มลุก พบขึ้นตามที่รกร้าง และที่ชื้นแฉะทั่วไป กะเม็งเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันมานาน มีประโยชน์ทางยามากมาย สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบ โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย ทำให้ผมดกดำ มีรายงานการวิจัยพบว่า กะเม็งสามารถแก้ความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากสารพิษได้ดี มีฤทธิ์แก้ไข้และแก้แพ้ในหนูถีบจักรและหนูขาว ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนในการใช้กะเม็ง เพื่อรักษาโรคตับอักเสบและโรคผิวหนังผื่นคัน


เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00742

สมุนไพร กรดน้ำ




สมุนไพร กรดน้ำ

กรดน้ำ สมุนไพร  ใบสมุนไพรกรดน้ำใช้ขับระดูขาว แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scoparia dulcis

ชื่อสามัญ : Sweet Broomweed, Macao tea

ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE

ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
กรดน้ำ หนวดแมวขัดมอนเล็ก(ภาคกลาง) , กัญชาป่า กระต่ายจามใหญ่ มะไฟเดือนห้า (กรุงเทพฯ),หญ้าหัวแมงฮุน หญ้าจาดตู้ด (ภาคเหนือ), ช้างไลดุ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),หญ้าพ่ำสามวัน(ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เทียนนา(จันทบุรี) ตานซาน(ปัตตานี),หูปลาช่อนตัวผู้(ตราด), ขัดมอนเทศ(ตรัง), แหย่กานฉ่าน(จีนกลาง),เอี่ยกำเช่า(แต้จิ๋ว)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ต้น : สมุนไพรกรดน้ำเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน มีความสูงประมาณ 25-80 ซม.
ใบ: ใบกรดน้ำเป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้วใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง
กิ่ง : กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก
ดอก : ดอกกรดน้ำมีสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก

ส่วนที่ใช้ : ใบ, ลำต้น, ราก

สรรพคุณของสมุนไพร

ใบ ใบสมุนไพรกรดน้ำใช้ขับระดูขาว แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ
ลำต้น ลำต้นกรดน้ำลดอาการเป็นหัด คอเจ็บ จุกเสียด อาเจียน แก้ไอ ลดไข้ ท้องเดิน ท้องเสียปวดท้อง ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา แก้ขาบวมจากการเป็นเหน็บชาลดอาการบวมน้ำจากปัสสาวะ
ราก รากกรดน้ำขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ เป็นต้น


กรดน้ำ สมุนไพร ดอกสมุนไพรกรดน้ำมีสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก

ตำรับยา :

1. เด็กที่เป็นไข้ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มใส่น้ำใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน
2. เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาที่เป็น
3. ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร
4. เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน
5. ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำกิน
6. มีอาการเจ็บคอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน
7. ไอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน

ข้อมูลทางคลีนิค :

ให้คนป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทานอะเมลลิน (amellin)(สารที่สกัดจากลำต้นกรดน้ำที่สดในขนาด 15-20 มิลลิเมตรต่อวัน) ในระยะเวลา 30 วันจะช่วยลดน้ำตาลในโลหิตและปัสสาวะปฏิกิริยาในการลดจะลดลงที่ละน้อยคุณภาพ ของยาห่างจาก อินซูลิน(insulin)ทั้งนี้เพราะยานี้ไม่ทำให้ปริมาณน้ำตาลในโลหิตลดต่ำกว่า เดิมอะเมลลินจะช่วยลดธาตุเหล็กในเซรุ่มช่วยเพิ่มสภาพด่างในร่างกายของคนไข้ ที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มระดับในเม็ดโลหิตแดง และอะซีโตนโตนบอดีส์(acetone bodies) ในโลหิตจึงช่วยรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานที่มีอัลบูมิน(albumin) คีโตน(ketone)ในปัสสาวะ และที่มีอาการโลหิตจาง จากนั้นยังช่วยลดไขมันในบาดแผลให้หายเร็ว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :

น้ำที่คั้นหรือสารที่ได้จากการสกัดจากราก (สารเคมีในรากกรดน้ำมี tannin,d-mannitol, hexacosanol และ B-sitosterol) และจากลำต้น(สารเคมีในลำต้นกรดน้ำมี:dulciol, dulcioic acid, iffaiionic acid, sitosterol, betulinic acid,friedilin, amellin, scoparol, benzoxazolinone, glutinol, -amtrin,tritriacontane, dulcioloneและอัลคาลอยด็)นั้นเมื่อนำมาทดสอบกับสัตว์มีผลต่อร่างกายของมัน เช่นลดการเกร็งตัว การเคลื่อนไหวลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ของกระต่ายกระตุ้นหัวใจของคางคก และมีผลเล็กน้อยในการกระตุ้นมดลูกของหนูขาวแต่จะไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อลาย หน้าท้องคางคก และลำไส้เล็กส่วนปลาย(ileum)ของหนูตะเภาแต่เมื่อนำมาฉีดเข้าในหลอดเลือดของ แมวแล้วจะลดความดันเลือดให้ลดลงลดการหายใจ สารที่สกัดจากแอลกอฮอล์จะไม่มีพิษเลยแต่สารที่สกัดจากน้ำจะมีพิษต่อหนูถีบ จักร

บทความสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง:

สมุนไพร-กะเพรา กะเพรามีคุณสมบัติช่วยขับลม ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ต้านพาราซิมพาเตติก ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ฤทธิ์ลดการอักเสบ ฤทธิ์สมานแผล ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฆ่าแมลงและไล่ยุงเป็นต้น...

สมุนไพร-ข้าวโพด เมล็ดข้าวโพด ใช้ต้มกินหรือจะเอามาบดเป็นแป้งทำขนมกิน ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานบำรุงหัวใจ ปอด ทำให้เจริญอาหาร มีรสชุ่ม ไม่มีพิษ สามารถใช้ต้มรับประทาน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ต้นและใบของข้าวโพด ใช้จำนวนพอสมควร ใช้สดหรือแห้ง นำมาต้มน้ำกินรักษานิ่ว รากข้าวโพด ใช้แห้งประมาณ 60-120นำมาต้มน้ำกิน รักษานิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด สามารถขับปัสสาวะได้...

สมุนไพร-เข็มป่า ดอกเข็มป่า ใช้รักษาโรคตาเปียก ตากแดง ตาแฉะ ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิทั้งปวง ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงจมูก เปลือกใช้ตำแล้วคั้นเอาน้ำหยอดหูใช้ฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู ราก ใช้ทำเป็นยารักษาเสมหะในท้อง หรือในทรวงอก...

สมุนไพร-คนทีเขมา ใบสมุนไพรคนทีเขมา ใช้ผสมในน้ำอาบ เพื่อให้มีกลิ่นหอม หรือจะใช้ทาหน้าผาก รักษาอาการปวดศีรษะรักษาไข้หวัด เจ็บคอ ไอ โรคปวดตามข้อ หูอื้อ ช่อดอกของคนทีเขมา ใช้เป็นยาลดไข้ ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย ...

สมุนไพร-คัดเค้า สรรพคุณของสมุนไพรคัดเค้าได้แก่ ใบใช้รักษาโรคโลหิตซ่าน ดอกใช้รักษาโลหิตในกองกำเดา ผลรักษาโลหิตอันเน่าให้ตกและรักษาโลหิตร้อนให้บริบูรณ์...


เราหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00739

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีการปลูกแตงโม




วิธีการปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตง ที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานาน แล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยัง ใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถ ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ใน ดินแทบทุกชนิดแต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย ซึ่งมีสภาพความ เป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.0–7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี

ฤดูปลูกการปลูกแตงโม

เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝนเพราะว่าในช่วงดัง กล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุกจะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วน ใหญ่ และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัดเหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดู แล้ง หรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และ เก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

ธันธุ์แตงโม

ที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์เบาที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือพันธุ์ชูการร์เบบี่ ผลกลมสีเขียวคลํ้า อายุเก็บเกี่ยว 65 วัน นับ จากวันงอก อีกพันธุ์หนึ่งได้แก่
พันธุ์หนัก คือ พันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ผลสีเขียวอ่อน มีลายที่ผิวผล ผลกลมยาวขนาดใหญ่ อายุ เก็บเกี่ยว 85 วัน นับจากวันงอก
พันธุ์แตงโมเหลือง เป็นพันธุ์ลูกผสม เนื้อสีเหลือง ผลกลม สีเขียวอ่อนลายเขียวเข็ม อายุเก็บ เกี่ยวประมาณ 70-75 วัน

ดินและการเตรียมดิน

แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มีความชุ่ม ชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาด นํ้าได้เป็นอย่างดีในระยะที่ต้นแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทํา ให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดินซึ่งจะ ช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้นและเป็นการช่วยทําให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็น ประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจําเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือ ค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดิน หรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การปลูกแตงโม

ใช้เมล็ดพันธุ์ชูการ์เบบี้อัตรา 40-50 กรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์และพันธุ์เหลือ อัตรา 250 – 500 กรัม/ไร่ โดยหยอดเป็นหลุมให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตง นั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถาแตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร ในดินทรายขุดหลุมให้มี ความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมให้ลึก ประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบน ใส่รองก้นหลุมๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงลงมือปลูก หยอดหลุมละ 5 เมล็ด

การดูแลรักษาแตงโม

เมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม เมื่อแตงโมขึ้นมามีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุม ละ 2-3 ต้น โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้แต่ถ้าปลูกให้ต้นหางกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3 เมตรแล้ว ก็เหลือหลุมละ 3 ต้นได้รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่ จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

วิธีช่วยให้เมล็ดแตงโมงอกเร็วขึ้น


สําหรับผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะ ว่า ถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติฉะนั้นเพื่อ ขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่นๆ ในบ้าน จะช่วย ทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ เมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไป เพาะในถุงหรือกระทงใบตองได้รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ จึงนําลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวก เพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนําเมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบ เดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้นํ้าในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว้ 1 วัน เพื่อให้ดินในหลุมชื้น พอเหมาะ หยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหน้าไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดนํ้า ต้นแตงโมจะขึ้นมา สมํ่าเสมอกันทั้งไร


เราหวังว่า เกษตรทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00737


ความสำคัญของผัก

ความสำคัญของผัก

ผักเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะในแง่ของวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อโภชนาการ (nutrition) ของมนุษย์ การเลือกบริโภคผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นประจำ ร่างกายจะได้รับวิตามิน และเกลือแร่พอเพียง ตัวอย่างของผักที่ควรเลือกใช้เป็นอาหาร คือ

ผักที่มีเนื้อสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท มันเทศ มันฝรั่ง เพราะมีแคโรตีน (carotene) สูง เมื่อเราบริโภคผักเหล่านี้ สารแคโรตีนจะถูกเปลี่ยนในร่างกายของเราให้กลายเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ให้ความแข็งแรงต่อเยื่อบุต่างๆ ช่วยให้ใช้สายตาในที่มืดได้ดีขึ้น ผู้ที่ขาดวิตามินเอ จะมีร่างกายแคระแกร็น ฟันผุ เป็นหวัดง่าย ตาอักเสบง่าย

ผักใบสีเขียวต่างๆ มีวิตามินบี 2 (riboflavin) ที่มีบทบาทในการเผาผลาญการย่อย หรือการใช้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ขาดวิตามิน บี 2 มักจะเป็นโรคปากนกกระจอก ลิ้นอักเสบ เหงือกอักเสบ โรคผิวหนังแห้ง ผิวลอก ขนร่วง

ถั่วลิสง มีวิตามิน พีพี (vitamin PP หรือ niacin) สูง ป้องกันการเป็นโรคผิวหนังกระ ระบบประสาทพิการ

มะเขือเทศ มะเขือเปรี้ยว มะนาว ผักใบเขียว มีวิตามินซี (ascorbic acid) สูง ผู้ที่ขาดวิตามินนี้จะเป็นโรคโลหิตจาง ซีดเซียว แคระแกร็น กระดูกไม่แข็งแรง เป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน และเป็นหวัดง่าย

ผักกาด และผักกินใบต่างๆ มีแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม ธาตุนี้ช่วยในการสร้างกระดูก ทำให้โครงกระดูกและฟันแข็งแรง ผู้ที่มีสุขภาพดีมักจะมีฟันแข็งแรง นอกจากนี้ผักเหล่านี้ยังมีธาตุเหล็กสูง ธาตุนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดโลหิตแดง ผู้ที่ขาดธาตุนี้จะเป็นโรคโลหิตจาง

ถั่วเหลือง มีโปรตีน หรือกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายสูง การใช้ถั่วเหลืองในรูปต่างๆ เช่น ถั่วงอก เต้าเจี้ยว เต้าหู้ น้ำนม ถั่วเหลือง ถั่วแผ่น เนื้อเกษตร (เนื้อเทียมที่ทำจากถั่ว) สามารถช่วยเพิ่มอาหารโปรตีนในท้องที่ที่ขาดอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา นม และไข่ได้ ถั่วอีกหลายชนิดยังอุดมไปด้วยอาหารประเภทไขมัน ละน้ำมัน (fat & oil) ด้วย การใช้น้ำมันถั่ว หรือน้ำมันพืช ยังช่วยลดการเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นโลหิตอุดตันเกิดจากสารคอเลสเทอรอล (Cholesterol)

นอกจากผักจะสามารถจัดสรรอาหาร ๓ ประ เภท คือ

1.อาหารประเภทโปรตีนที่ให้ความเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
2.อาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล และไขมัน น้ำมันที่ให้พลังงาน และความอบอุ่นต่อร่างกาย
3.อาหารประเภทวิตามิน และเกลือแร่ที่เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว

ผักยังมีปริมาณ น้ำสูง มีเซลลูโลส (cellulose) หรือกากอาหาร (fiber) ซึ่งสารนี้ช่วยเสริมกิจกรรมการย่อยอาหาร และขับถ่ายของร่างกายให้เป็นปกติ ยิ่งไปกว่านั้นผักบาง ชนิด เช่น พริก ความเผ็ดของพริกยังใช้เป็นเครื่องชูรส และเครื่องกระตุ้นให้เรารับประทานอาหารได้เอร็ดอร่อยขึ้น ผักหลายชนิดใช้สกัดทำสีย้อมอาหารให้น่ารับประทานขึ้น และไม่เป็นพิษเป็นภัย ต่อร่างกาย เช่น ดอกอัญชันใช้สกัดสีม่วง ใบเตยใช้สกัดสีเขียวใบไม้ เป็นต้น

ตามที่กล่าวมาแล้ว ผักมิใช่แต่จะใช้เป็นอาหารของมนุษย์เท่านั้น แต่ผักยังใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย ดังนั้นเราอาจเปลี่ยนผักให้เป็นเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนได้ ยิ่งไปกว่านั้นในระยะที่น้ำมันขาดแคลน แทนที่เราจะทิ้งเศษผักกองใหญ่ๆ ให้เน่าเหม็นโดยไร้ประโยชน์ เราอาจจะใช้เศษผักที่กำลังเน่าเปื่อย ไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ (biogas) ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันได้รูปหนึ่ง เศษผักที่เหลือจากการสลายตัวแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ด้วย


เราหวังว่า เกษตรทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00735

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้มงคล กวนอิมทอง


กวนอิมทอง

ชื่อสามัญ    Ribbon plant

ชื่อวิทยาศาสตร์    Dracaena sonderiana"Gold"

ตระกูล     LILIACEAE

ถิ่นกำเนิด    ในประเทศคาเมรูนและคองโก


ลักษณะทั่วไป ของ กวนอิมทอง ไม้มงคล

กวนอิมทองเป็นพรรณไม้ยืนต้น คล้ายกับสกุลหวายลำต้นโตประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นกลมตรงเล็กลำต้นเป็นข้อๆสีเขียวไม่มีกิ่งก้านสาขามีการเจริญการยืดตัวของข้อใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วน ยอดของลำต้นมีกาบใบหุ้มห่อลำต้นสลับกันเป็นชั้นๆตามข้อของลำต้นใบแคบเรียวยาวปลายใบแหลมโคนใบสอบลงมาถึง กาบใบ พื้นใบมีสีเขียวหรืมีสีขาวพาดตามยาวของใบ ขนาดความกว้างของใบประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตรกวนอิมทองต่างกับกวนอิมเงินที่ลำต้นมีสีขาวหรือเหลืองส่วนของใบนั้นกวนอิมทองพื้นใบสีเขียวอ่อนสลับกับสี เหลืองอ่อน หรือเหลืองทองพาดไปตามยาวของใบ

การเป็นมงคล ของ กวนอิมทอง ไม้มงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกวนอิมทองไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีฐานะดีเกิดความร่ำรวยเพราะต้นกวน อิมทองเป็นไม้นำทองและของมีค่าเข้ามาสู่คนในบ้านดังนั้นจึงถือว่าเป็นไม้มงคลนามนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าต้นกวน อิมทองเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนโบรานใช้ต้นกวนอิมทอง ประกอบในพิธีบูชาพระเจ้าและพิธีที่เป็นศาสนาได้ดียิ่งนัก

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก ของ กวนอิมทอง ไม้มงคล

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกวนอิมทองไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก ของ กวนอิมทอง ไม้มงคล

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ดินร่วนอัตรา 1:1:1ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและการแตกกอของทรง พุ่มโตขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเปลี่ยนดินปลูกใหม่ เพื่อทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณหน้า บ้าน เพราะจะได้เป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 20 x 20 x 20 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก:

การดูแลรักษา ไม้มงคล กวนอิมทอง

แสง    ต้องการแสงแดดจัด หรือ แสงร่มรำไร

น้ำ    ชอบน้ำมาก การให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน    ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชื้นสูง

ปุ๋ย     ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 1-2 เดือน/ครั้ง หรือการใส่ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 16-16-16 อัตรา 100-300 กรัม/กอ ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง

การขยายพันธ์    การปักชำ

โรคและแมลง ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค แมลง จะพบเพลี้ยแป้ง

อาการ ซอกใบหรือโคนใบจะมีกลุ่มผงสีขาว หลังจากนั้นใบจะเหลือกซีด แคระแกร็น

การป้องกันกำจัด รักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ปลูก ฉีดพ่นด้วย ยาไดซินอนตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากยา


อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณา คลิกปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00730

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กวนอิม ไม้มงคล


กวนอิมเงิน

(หวายด่างหรืออ้อลาย)

ชื่อสามัญ     Ribbon plant

ชื่อวิทยาศาสตร์      Dracaena sonderiana"silver"

ตระกูล     LILIACEAE

ถิ่นกำเนิด    ในประเทศคาเมรูนและคองโก

ลักษณะทั่วไป

กวนอิมเงินเป็นพรรณไม้ยืนต้น คล้ายกับสกุลหวายลำต้นโตประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นกลมตรงเล็กลำต้นเป็นข้อๆสีเขียวไม่มีกิ่งก้านสาขามีการเจริญการยืดตัวของข้อใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอด ของลำต้น มีกาบใบหุ้มห่อลำต้น สลับกันเป็นชั้นๆ ตามข้อของลำต้น ใบแคบเรียวยาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบลงมาถึงกาบ ใบพื้นใบมีสีเขียวหรืมีสีขาวพาดตามยาวของใบ ขนาดความกว้างของใบประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร

การเป็น ไม้มงคล กวนอิมเงิน

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นกวนอิมเงินไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีฐานะดี เกิดความร่ำรวย เพราะต้นกวนอิมเป็นไม้นำเงินเข้ามาหมุนเวียนให้คนในบ้าน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ต้นกวนดิมเงินเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนโบราณใช้ต้นกวนอิมประกอบในพิธีบูชาพระเจ้า และพิธีมงคลทางศาสนาดียิ่งนัก

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกวนอิมเงินไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก  กวนอิมเงิน การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2ปี/ครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและการแตกกอของทรง พุ่มโตขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเปลี่ยนดินปลูกใหม่ เพื่อทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณหน้า บ้าน เพราะจะได้เป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 20 x 20 x 20 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา กวนอิมเงิน
แสง    ต้องการแสงแดดจัด หรือ แสงร่มรำไร

น้ำ      ชอบน้ำมาก การให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน     ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชื้นสูง

ปุ๋ย     ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 1-2 เดือน/ครั้ง หรือการใส่ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 16-16-16 อัตรา 100-300 กรัม/กอ ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง

การขยายพันธ์     การปักชำ

โรคและแมลง     ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค แมลง จะพบเพลี้ยแป้ง

อาการ      ซอกใบหรือโคนใบจะมีกลุ่มผงสีขาว หลังจากนั้นใบจะเหลือกซีด แคระแกร็น

การป้องกันกำจัด     รักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ปลูก ฉีดพ่นด้วย ยาไดซินอนตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากยา


อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00729

ผักแพว





ผักแพว (ผักไผ่)

วงศ์ Polygonaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ vietnamese coriander

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour.

ชื่อพื้นเมือง ผักไผ่ ( ภาคเหนือ ) ผักแพว ( ภาคกลาง-อุดรธานี-อีสาน ) จันทร์โฉม

ผักแพว (ผักไผ่) ผักไผ่ เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ขึ้นได้ดีบริเวณพื้นดินที่มีความชื้นสูง ลำต้นมีข้อเป็นระยะ บริเวณข้อจะมีรากงอกออกมาเมื่อสัมผัสกับพื้นดิน ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเป็นใบ เดี่ยวออกแบบสลับ สีเขียว ใบเรียวเล็ก คล้ายรูปหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ดอก จะออกเป็นช่อ ดอกเล็กสีขาวอมชมพูม่วง ผลขนาดเล็กมาก

ประโยชน์ทางอาหาร ผักไผ่เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน เฉพาะตัว ยอดอ่อนและใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดคู่กับน้ำพริก ลาบ ก้อย ทางภาคเหนือนิยมซอยใส่ในลาบ หรือ ยำไก่ เพิ่มความหอมอร่อย

สรรพคุณทางยา ผักไผ่มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม เจริญอาหาร

การเลือกซื้อ ผักไผ่เป็นผักที่เสือกซื้อง่ายแค่ดูที่ใบสดๆ ไม่เหี่ยว เหลือง มีรอยกัดแทะ ของหนอนแมลงบ้างเป็นใช้ได้ค่ะ

การเก็บรักษา ให้เก็บผักไผ่ใส่ถุงพลาสติกปิดให้สนิท เก็บใส่กล่องพลาสติกปิดฝาให้มิดชิดเก็บเข้าตู้เย็นช่องใส่ผักได้เลยค่ะ

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00727

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ต้นข่อย สมุนไพร


ต้นข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper.
ชื่อสามัญ Siamese rough bush
ตระกูล MORACEAE

ลักษณะทั่วไป ของ ต้นข่อย

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามพื้นราบและป่าเบญจพรรณทั่วๆ ไปลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีเทา ค่อนข้างขาว โคนลำต้นตรง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปม และเป็นร่องเล็กน้อย ใบออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กสีเขียว ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลม ปลายใบแหลม ใบหนา หยาบคล้ายกระดาษทราย ใช้ขัดฟันหรือถูขูดเมือกปลาไหลได้ ออกดอกเป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลือง ผลกลมมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด เรียบ เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาวหรือเทา เปลือกในมียางสีขาว เมื่อสุกผลสีเหลืองรับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม

การปลูกและการดูแลรักษา ต้นข่อย

หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุก ๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นข่อย

การดูแลรักษา ต้นข่อย


แสง ต้องการแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5–7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1–2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปีละ 4–5 ครั้ง

การขยายพันธุ์ ต้นข่อย

ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ ซึ่งวิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการปักชำ หรือจะขุดล้อมจากธรรมชาติมาปลูกเลี้ยงก็ได แต่ควรมีขนาดลำต้นไม่เกิน 3 เซนติเมตร เพราะหากโตกว่านี้จะเลี้ยงรอดยาก

ประโยชน์ ต้นข่อย 

เปลือก แก้ท้องร่วงรำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ยาอายุวัฒนะ โรคผิวหนัง ยางใช้กำจัดแมลง ไม้ ทำกระดาษ ทำเป็นสมุด เรียกว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย เชียงใหม่ใช้มวนยาสูบ เรียกว่า ไชดยเหนือ ขี้โย กิ่ง ชาวอินเดียใช้สีฟัน ทำให้ฟันทน ใบ ใบสดปิ้งไฟชงน้ำดื่มเป็น ยาระบายอ่อนๆ

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet  และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00725

ประวัติความเป็นมาของมันแกว


ประวัติความเป็นมาของมันแกว

มันแกวมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แยมบีน (yam bean) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโกและประเทศในแถบอเมริกากลาง ชาวสเปนได้นำผลผลิตโดยทั่วไปประมาณ ๑-๒ ตันต่อไร่ ราคาขายส่งประมาณ กก. ละ ๑.๐๐-๒.๐๐ บาท ราคาขายปลีกประมาณ กก. ละ ๑.๕๐-๓.๐๐ บาท มาปลูกในฟิลิปปินส์ ปัจจุบันได้มีการปลูกมันแกวกันโดยทั่วไปในประเทศแถบร้อน ได้แก่ แอฟริกา ตะวันออก อินเดีย จีน และประเทศไทย เป็นต้นในประเทศไทยมีการปลูกมันแกวมานานแล้ว อาจจะเป็นไปได้ว่า ชาวญวนเป็นผู้นำเข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ หรือมีคนไทยนำเข้ามาจากประเทศเวียดนาม เข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกชาวญวนว่า "แกว" จึงเรียกมันนี้ว่า มันแกว แต่ไม่มีการยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมกับภูมิประเทศ มีปลูกมากอยู่ใน ๕๔ จังหวัด ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น ภาคเหนือปลูกไม่มากนัก ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย ส่วนภาคใต้ปลูกมันแกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ มีปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดที่ปลูกมันแกวมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่เพาะปลูกถึง ๘,๓๖๔ ไร่ ให้ผลิตผล ๗,๑๑๕ ตัน (สถิติปี พ.ศ. ๒๕๑๑)

ลักษณะทั่วไปของมันแกวเป็นอย่างไร

มันแกวเป็นไม้เถาเลื้อย ใบคล้ายใบถั่ว หัวอวบ หัวมีขนาดแตกต่างตามชนิดพันธุ์ ที่พบมากเป็นพวกหัวใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ ซม. สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของ มันแกว

มันแกวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แพคีร์ริซุส อิโรซุส (แอล) เออร์บัน (Pachyrrhizus erosus (L) Urban.) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ต้นมีขนเป็นเถาเลื้อย ต้นอาจจะยาวถึง ๕.๕ เมตร ไม่แตกแขนง หัวอวบ มีขนาดใหญ่ โคนต้นเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วยใบย่อย ๓ ใบ ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกสีชมพูหรือขาว ช่อดอกยาว ๑๕-๓๐ ซม. ฝักมีขนาดยาวประมาณ ๗-๑๕ ซม. ฝักเมื่อแก่จะเรียบมี ๘-๑๐ เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลหรือแดง ลักษณะจัตุรัสแบน ๆ ต้นหนึ่ง ๆ มีหัวเดียว หัวอาจเป็นหัวเรียบ ๆ หรือเป็นพู มีรูปร่างแตกต่างกันมาก ส่วนมากหัวมีสี่พู ส่วนที่อยู่ใต้ดินมีอายุข้ามปี แต่ส่วนบนดิน คือ ต้นใบมีอายุปีเดียว

ชนิดมันแกว

มันแกวที่ปลูกรับประทานมีชนิดใกล้เคียงกันกับ พี อิโรซุส (P. erosus) ดังกล่าวข้างต้นก็มี พี ทูเบอโรซุส (P. tuberosus) ซึ่งแตกต่างจาก พีอิโรซุส เล็กน้อย ที่มีใบย่อยใหญ่ ดอกสีขาว หัวมีขนาดใหญ่กว่า ฝักใหญ่กว่า มีความยาว ๒๕-๓๐ ซม. เมล็ดแบนใหญ่ มันแกวที่ปลูกมากในประเทศไทย ที่พบมี ๒ ชนิดใหญ่ ๆ คือพันธุ์หัวใหญ่ กับ พันธุ์หัวเล็กไม่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน นอกจากเรียกตามชื่อท้องที่ที่ปลูก เช่น มันแกวเพชรบุรีบ้าง มันแกวลพบุรีบ้าง มันแกวบ้านหมอบ้าง ทางแถบสระบุรีเรียกพันธุ์ "ลักยิ้ม" เพราะเมล็ดมีรอยบุ๋ม ทางจังหวัดมหาสารคามมีพันธุ์งาช้าง

มันแกวมีวิธีการปลูกอย่างไร
ฤดูปลูก
มันแก้วขึ้นได้ในดินฟ้าอากาศหลายชนิดชอบอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนปานกลาง ในอากาศที่หนาว ระยะเจริญเติบโตจะยาวนาน ในการผลิตหัวต้องการวันสั้น ถ้าปลูกในที่ที่มีวันยาวถึง ๑๔-๑๕ ชั่วโมง การเจริญเติบโตดี แต่ไม่ผลิตหัว ควรปลูกในระยะต้นถึงปลายฤดูฝน เพื่อเก็บหัวในฤดูแล้ว ถ้าปลูกฤดูแล้งหลังจากฝนหมดแล้ว จะมีหัวในเวลาไม่นานนัก เช่น ปลูกเดือนพฤศจิกายน จุเก็บหัวได้ในราวเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ แต่จะได้หัวเล็ก เพื่อให้ได้หัวโต ควรปลูกราวเดือนมิถุนายน

การเลือกและการเตรียมที่
มันแกวชอบดินที่มีการระบายน้ำดี มีการเตรียมดินดี ไม่ชอบดินเหนียว น้ำขัง ชอบดินร่วนทราย การเตรียมดินก็เป็นเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่อื่น ๆ มีการไถพรวน พรวนให้ดินร่วนซุยดี เก็บวัชพืชให้หมดและยกร่องเพื่อปลูกมันแกวบนสันร่อง

วิธีการปลูกมันแกว
ปลูกด้วยเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ มีบางครั้งปลูกโดยใช้หัว เพื่อรักษาลักษณะที่ดีไว้ ปลูกหลุมละ ๒-๓ เมล็ด ในบางประเทศปลูกโดยใช้ระยะระหว่างแถว ๖๐-๗๕ ซม. ระยะระหว่างหลุม ๓๐-๔๐ ซม. อินเดียและฟิลิปปินส์ ใช้ระยะระหว่างแถว ๑๕-๒๐ ซม. ระหว่างต้น ๑๐ ซม. ผลการทดลองใช้ระยะ ๑๕x๑๕ ซม. ให้ผลดี ประเทศไทยปลูกโดยวิธียกร่อง ระยะระหว่างแถว ๘๐-๑๐๐ ซม. ระหว่างต้นแตกต่างกัน ชนิดหัวเล็กต้นห่างกัน ๑๐-๒๐ ซม. ชนิดหัวใหญ่ห่างกัน ๓๐-๕๐ ซม. ถ้าไม่ยกร่องระยะระหว่างแถวแคบกว่านี้เล็กน้อย ในเนื้อที่ ๑ ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๘ กก. หรือประมาณครึ่งถัง

มันแกวมีการทะนุบำรุงอย่างไร

การทำค้าง
มันแกวที่ปลูกฤดูฝน สิ่งสำคัญในการปฏิบัติได้แก่ การทำค้างให้ต้นมันแกวเลื้อย ใช้ไม้ไผ่หรือกิ่งไม้สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ปัดให้ต้นมันแกวเลื้อยและช่วยจัดให้ยอดของมันแกวเลื้อยขึ้นไปตามไม้ที่ปัก การปลูกมันแกวฤดูแล้งไม่ต้องทำค้าง

การพรวนดิน
ถ้าปลูกฤดูฝน ควรพรวนดินพร้อมกับกำจัดวัชพืชไม่ให้วัชพืชขึ้นปกคลุม ต้นมันแกวปำติต้องกำจัดวัชพืช ๒-๓ ครั้ง สำหรับการปลูกมันแกวในฤดูแล้งไม่ให้น้ำ ไม่ต้องพรวนดินและกำจัดวัชพืช

การเด็ดยอด
การปลูกมันแกวในฤดูฝนนั้นจำเป็นต้องเด็ดยอดและดอก ถ้าไม่เด็ดมันแกวจะเจริญเติบโตทางต้น ใบ ดอก ฝัก ทำให้มีหัวเล็ก การเด็ดยอดและดอกจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ ถ้าปลูกต้นฤดูฝนในราวเดือนมิถุนายน ทำการเด็ดยอด ๓ ครั้ง ครั้งแรกอายุ ๒ เดือน ขณะที่เถายาวประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ครั้งที่สอง อายุประมาณ ๓ เดือน และครั้งที่สามอายุประมาณ ๔ เดือน หรือจะเด็ดเพียง ๒ ครั้ง เมื่ออายุ ๒ กับ ๔ เดือนก็ได้ ถ้าปลูกปลายฝนเด็ดยอดครั้งเดียวเป็นการเพียงพอ แต่ถ้าปลูกหลังฤดูฝน ไม่ต้องทำการเด็ดยอดเลย

สำหรับการปลูกมันแกวเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ปลูก ไม่ต้องทำการเด็ดยอดและดอก ปล่อยให้เจริญเติบโตตามปกติ เพื่อให้ได้เมล็ดมากและเมล็ด มีคุณภาพดีในทางปฏิบัติกสิกรเด็ดยอดโดยการใช้ไม้คล้ายไม้เรียวหวดให้ยอดขาด หรือหักไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป

การใส่ปุ๋ย

ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอก ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่ละแห่งในต่างประเทศใช้ปุ๋ยผสม เกรด ๑๒-๒๔-๑๒ ในอัตรา ๕๐-๖๕ กก./ไร่ ก่อนปลูกและเพิ่มแอมโมเนียมซัลเฟตอีกประมาณ ๓๐ กก./ไร่ เมื่อต้นมันแกวเริ่มเลื้อย

การเก็บหัวและรักษามันแกว

มันแกวที่ปลูกฤดูฝนจะแก่เมื่ออายุประมาร ๕-๘ เดือน แต่ถ้าจะเก็บเมล็ดต้องใช้เวลาประมาณ ๑๐ เดือน ให้สังเกตดูใบมันแกว เมื่อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่าเริ่มเก็บหัวได้แล้ว มันแกวชนิดหัวเล็กปลูกหลังฤดูฝน เก็บได้เมื่ออายุ ๓ เดือน ถ้าปลูกน้อย เก็บโดยการขุดด้วยจอบ เสียม ถ้าปลูกมากอาจใช้ไถพลิกหัวมันแกวขึ้นมา เมื่อเก็บหัวมาแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วส่งตลาดหรือเก็บรักษาไว้ต่อไป การเก็บรักษามันแกวที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ไม่ขุดขึ้นจากดิน วิธีนี้จะสามารถทิ้งหัวมันแกวไว้ในดินได้อีกประมาร ๒-๓ เดือน โดยไม่ให้น้ำ หัวจะไม่เสีย เพียงแต่แห้งไปบ้าง และจะมีรสหวานมากขึ้น ถ้าขุดขึ้นมาแล้วจะเก็บรักษาได้โดยเก็บไว้ในอุณหภูมิ ๐ องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ ๒ เดือน

ประโยชน์ของมันแกวมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของมันแกว มีดังนี้
หัว หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ ๑.๔๗ ไขมันร้อยละ ๐.๐๙ แป้งร้อยละ ๙.๗๒ น้ำตาลร้อยละ ๒.๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ ๐.๕๐ เหล็ก (Fe) ๑.๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม (Ca) ๑๖.๐ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๕ มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๒ มิลลิกรัม กรดเอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัม
ฝัก ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖.๔ โปรตีนร้อยละ ๒.๖ ไขมันร้อยละ ๐.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๒.๙ เถ้าร้อยละ ๐.๗ แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัม ฟอสฟอรัส (P) ๓๙ มิลลิกรัม เล็ก ๑.๓ มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน ๐.๑๑ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๘ มิลลิกรัม
เมล็ด ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.๕-๒๘.๔ ผลการวิเคราะห์เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๖.๗ น้ำมันร้อยละ ๒๗.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๗.๐ เถ้าร้อยละ ๓.๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษเนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ ๐.๑๒-๐.๔๓ และไอโซฟลาวาโนน และ ทุฟูราโน -๓- ฟีนิลดูมาริน
ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของมันแกว ส่วนใหญ่คือหัว หัวสดใช้เป็นอาหาร เป็นผลไม้และผัก หรือจะใช้หุงต้มปรุงอาหารก็ได้ หัวเล็ก ๆ หรือเศษของหัวใช้เลี้ยงสัตว์ ฝักอ่อนต้มรับประทานเป็นผัก เมล็ดใช้ทำพันธุ์ เมล็ดแก่ป่นหรือบดใช้เป็นยาฆ่าแมลงหรือใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝักแก่และเมล็ดแก่เป็นพิษต่อการบริโภคของคนและสัตว์ เนื่องจากเมล็ดมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย น้ำมันจากเมล็ดมันแกวกินได้ ต้นหรือเถามันแกวมีความเหนียว ในประเทศฟิจิ ใช้ทำแห อวน ได้

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet  และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00723

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า


การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า
ปลูกข้าว

การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขตนาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด ดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบันการทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่างรุนแรง เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณ ข้าววัชพืช ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว) วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้
แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่
1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วย เครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง
การตกกล้า ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้
ตกหล้า
1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม
ตกกล้า
2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่
ตกกล้า
3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว
ตกกล้า
4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน
ตกกล้า
5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน

การเตรียมแปลง
ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อน จึงไถดะครั้งที่
ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้ว

คราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง
สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้ราก ข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้
ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก
การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่
การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 % กรณีไม่ถูกฝนช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวน้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า