หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ต้นข่อย สมุนไพร


ต้นข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper.
ชื่อสามัญ Siamese rough bush
ตระกูล MORACEAE

ลักษณะทั่วไป ของ ต้นข่อย

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามพื้นราบและป่าเบญจพรรณทั่วๆ ไปลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีเทา ค่อนข้างขาว โคนลำต้นตรง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปม และเป็นร่องเล็กน้อย ใบออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กสีเขียว ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลม ปลายใบแหลม ใบหนา หยาบคล้ายกระดาษทราย ใช้ขัดฟันหรือถูขูดเมือกปลาไหลได้ ออกดอกเป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลือง ผลกลมมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด เรียบ เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาวหรือเทา เปลือกในมียางสีขาว เมื่อสุกผลสีเหลืองรับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม

การปลูกและการดูแลรักษา ต้นข่อย

หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุก ๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นข่อย

การดูแลรักษา ต้นข่อย


แสง ต้องการแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5–7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1–2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปีละ 4–5 ครั้ง

การขยายพันธุ์ ต้นข่อย

ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ ซึ่งวิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการปักชำ หรือจะขุดล้อมจากธรรมชาติมาปลูกเลี้ยงก็ได แต่ควรมีขนาดลำต้นไม่เกิน 3 เซนติเมตร เพราะหากโตกว่านี้จะเลี้ยงรอดยาก

ประโยชน์ ต้นข่อย 

เปลือก แก้ท้องร่วงรำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ยาอายุวัฒนะ โรคผิวหนัง ยางใช้กำจัดแมลง ไม้ ทำกระดาษ ทำเป็นสมุด เรียกว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย เชียงใหม่ใช้มวนยาสูบ เรียกว่า ไชดยเหนือ ขี้โย กิ่ง ชาวอินเดียใช้สีฟัน ทำให้ฟันทน ใบ ใบสดปิ้งไฟชงน้ำดื่มเป็น ยาระบายอ่อนๆ

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet  และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00725

ประวัติความเป็นมาของมันแกว


ประวัติความเป็นมาของมันแกว

มันแกวมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แยมบีน (yam bean) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโกและประเทศในแถบอเมริกากลาง ชาวสเปนได้นำผลผลิตโดยทั่วไปประมาณ ๑-๒ ตันต่อไร่ ราคาขายส่งประมาณ กก. ละ ๑.๐๐-๒.๐๐ บาท ราคาขายปลีกประมาณ กก. ละ ๑.๕๐-๓.๐๐ บาท มาปลูกในฟิลิปปินส์ ปัจจุบันได้มีการปลูกมันแกวกันโดยทั่วไปในประเทศแถบร้อน ได้แก่ แอฟริกา ตะวันออก อินเดีย จีน และประเทศไทย เป็นต้นในประเทศไทยมีการปลูกมันแกวมานานแล้ว อาจจะเป็นไปได้ว่า ชาวญวนเป็นผู้นำเข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ หรือมีคนไทยนำเข้ามาจากประเทศเวียดนาม เข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกชาวญวนว่า "แกว" จึงเรียกมันนี้ว่า มันแกว แต่ไม่มีการยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมกับภูมิประเทศ มีปลูกมากอยู่ใน ๕๔ จังหวัด ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น ภาคเหนือปลูกไม่มากนัก ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย ส่วนภาคใต้ปลูกมันแกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ มีปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดที่ปลูกมันแกวมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่เพาะปลูกถึง ๘,๓๖๔ ไร่ ให้ผลิตผล ๗,๑๑๕ ตัน (สถิติปี พ.ศ. ๒๕๑๑)

ลักษณะทั่วไปของมันแกวเป็นอย่างไร

มันแกวเป็นไม้เถาเลื้อย ใบคล้ายใบถั่ว หัวอวบ หัวมีขนาดแตกต่างตามชนิดพันธุ์ ที่พบมากเป็นพวกหัวใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ ซม. สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของ มันแกว

มันแกวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แพคีร์ริซุส อิโรซุส (แอล) เออร์บัน (Pachyrrhizus erosus (L) Urban.) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ต้นมีขนเป็นเถาเลื้อย ต้นอาจจะยาวถึง ๕.๕ เมตร ไม่แตกแขนง หัวอวบ มีขนาดใหญ่ โคนต้นเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วยใบย่อย ๓ ใบ ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกสีชมพูหรือขาว ช่อดอกยาว ๑๕-๓๐ ซม. ฝักมีขนาดยาวประมาณ ๗-๑๕ ซม. ฝักเมื่อแก่จะเรียบมี ๘-๑๐ เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลหรือแดง ลักษณะจัตุรัสแบน ๆ ต้นหนึ่ง ๆ มีหัวเดียว หัวอาจเป็นหัวเรียบ ๆ หรือเป็นพู มีรูปร่างแตกต่างกันมาก ส่วนมากหัวมีสี่พู ส่วนที่อยู่ใต้ดินมีอายุข้ามปี แต่ส่วนบนดิน คือ ต้นใบมีอายุปีเดียว

ชนิดมันแกว

มันแกวที่ปลูกรับประทานมีชนิดใกล้เคียงกันกับ พี อิโรซุส (P. erosus) ดังกล่าวข้างต้นก็มี พี ทูเบอโรซุส (P. tuberosus) ซึ่งแตกต่างจาก พีอิโรซุส เล็กน้อย ที่มีใบย่อยใหญ่ ดอกสีขาว หัวมีขนาดใหญ่กว่า ฝักใหญ่กว่า มีความยาว ๒๕-๓๐ ซม. เมล็ดแบนใหญ่ มันแกวที่ปลูกมากในประเทศไทย ที่พบมี ๒ ชนิดใหญ่ ๆ คือพันธุ์หัวใหญ่ กับ พันธุ์หัวเล็กไม่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน นอกจากเรียกตามชื่อท้องที่ที่ปลูก เช่น มันแกวเพชรบุรีบ้าง มันแกวลพบุรีบ้าง มันแกวบ้านหมอบ้าง ทางแถบสระบุรีเรียกพันธุ์ "ลักยิ้ม" เพราะเมล็ดมีรอยบุ๋ม ทางจังหวัดมหาสารคามมีพันธุ์งาช้าง

มันแกวมีวิธีการปลูกอย่างไร
ฤดูปลูก
มันแก้วขึ้นได้ในดินฟ้าอากาศหลายชนิดชอบอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนปานกลาง ในอากาศที่หนาว ระยะเจริญเติบโตจะยาวนาน ในการผลิตหัวต้องการวันสั้น ถ้าปลูกในที่ที่มีวันยาวถึง ๑๔-๑๕ ชั่วโมง การเจริญเติบโตดี แต่ไม่ผลิตหัว ควรปลูกในระยะต้นถึงปลายฤดูฝน เพื่อเก็บหัวในฤดูแล้ว ถ้าปลูกฤดูแล้งหลังจากฝนหมดแล้ว จะมีหัวในเวลาไม่นานนัก เช่น ปลูกเดือนพฤศจิกายน จุเก็บหัวได้ในราวเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ แต่จะได้หัวเล็ก เพื่อให้ได้หัวโต ควรปลูกราวเดือนมิถุนายน

การเลือกและการเตรียมที่
มันแกวชอบดินที่มีการระบายน้ำดี มีการเตรียมดินดี ไม่ชอบดินเหนียว น้ำขัง ชอบดินร่วนทราย การเตรียมดินก็เป็นเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่อื่น ๆ มีการไถพรวน พรวนให้ดินร่วนซุยดี เก็บวัชพืชให้หมดและยกร่องเพื่อปลูกมันแกวบนสันร่อง

วิธีการปลูกมันแกว
ปลูกด้วยเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ มีบางครั้งปลูกโดยใช้หัว เพื่อรักษาลักษณะที่ดีไว้ ปลูกหลุมละ ๒-๓ เมล็ด ในบางประเทศปลูกโดยใช้ระยะระหว่างแถว ๖๐-๗๕ ซม. ระยะระหว่างหลุม ๓๐-๔๐ ซม. อินเดียและฟิลิปปินส์ ใช้ระยะระหว่างแถว ๑๕-๒๐ ซม. ระหว่างต้น ๑๐ ซม. ผลการทดลองใช้ระยะ ๑๕x๑๕ ซม. ให้ผลดี ประเทศไทยปลูกโดยวิธียกร่อง ระยะระหว่างแถว ๘๐-๑๐๐ ซม. ระหว่างต้นแตกต่างกัน ชนิดหัวเล็กต้นห่างกัน ๑๐-๒๐ ซม. ชนิดหัวใหญ่ห่างกัน ๓๐-๕๐ ซม. ถ้าไม่ยกร่องระยะระหว่างแถวแคบกว่านี้เล็กน้อย ในเนื้อที่ ๑ ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๘ กก. หรือประมาณครึ่งถัง

มันแกวมีการทะนุบำรุงอย่างไร

การทำค้าง
มันแกวที่ปลูกฤดูฝน สิ่งสำคัญในการปฏิบัติได้แก่ การทำค้างให้ต้นมันแกวเลื้อย ใช้ไม้ไผ่หรือกิ่งไม้สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ปัดให้ต้นมันแกวเลื้อยและช่วยจัดให้ยอดของมันแกวเลื้อยขึ้นไปตามไม้ที่ปัก การปลูกมันแกวฤดูแล้งไม่ต้องทำค้าง

การพรวนดิน
ถ้าปลูกฤดูฝน ควรพรวนดินพร้อมกับกำจัดวัชพืชไม่ให้วัชพืชขึ้นปกคลุม ต้นมันแกวปำติต้องกำจัดวัชพืช ๒-๓ ครั้ง สำหรับการปลูกมันแกวในฤดูแล้งไม่ให้น้ำ ไม่ต้องพรวนดินและกำจัดวัชพืช

การเด็ดยอด
การปลูกมันแกวในฤดูฝนนั้นจำเป็นต้องเด็ดยอดและดอก ถ้าไม่เด็ดมันแกวจะเจริญเติบโตทางต้น ใบ ดอก ฝัก ทำให้มีหัวเล็ก การเด็ดยอดและดอกจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ ถ้าปลูกต้นฤดูฝนในราวเดือนมิถุนายน ทำการเด็ดยอด ๓ ครั้ง ครั้งแรกอายุ ๒ เดือน ขณะที่เถายาวประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ครั้งที่สอง อายุประมาณ ๓ เดือน และครั้งที่สามอายุประมาณ ๔ เดือน หรือจะเด็ดเพียง ๒ ครั้ง เมื่ออายุ ๒ กับ ๔ เดือนก็ได้ ถ้าปลูกปลายฝนเด็ดยอดครั้งเดียวเป็นการเพียงพอ แต่ถ้าปลูกหลังฤดูฝน ไม่ต้องทำการเด็ดยอดเลย

สำหรับการปลูกมันแกวเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ปลูก ไม่ต้องทำการเด็ดยอดและดอก ปล่อยให้เจริญเติบโตตามปกติ เพื่อให้ได้เมล็ดมากและเมล็ด มีคุณภาพดีในทางปฏิบัติกสิกรเด็ดยอดโดยการใช้ไม้คล้ายไม้เรียวหวดให้ยอดขาด หรือหักไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป

การใส่ปุ๋ย

ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอก ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่ละแห่งในต่างประเทศใช้ปุ๋ยผสม เกรด ๑๒-๒๔-๑๒ ในอัตรา ๕๐-๖๕ กก./ไร่ ก่อนปลูกและเพิ่มแอมโมเนียมซัลเฟตอีกประมาณ ๓๐ กก./ไร่ เมื่อต้นมันแกวเริ่มเลื้อย

การเก็บหัวและรักษามันแกว

มันแกวที่ปลูกฤดูฝนจะแก่เมื่ออายุประมาร ๕-๘ เดือน แต่ถ้าจะเก็บเมล็ดต้องใช้เวลาประมาณ ๑๐ เดือน ให้สังเกตดูใบมันแกว เมื่อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่าเริ่มเก็บหัวได้แล้ว มันแกวชนิดหัวเล็กปลูกหลังฤดูฝน เก็บได้เมื่ออายุ ๓ เดือน ถ้าปลูกน้อย เก็บโดยการขุดด้วยจอบ เสียม ถ้าปลูกมากอาจใช้ไถพลิกหัวมันแกวขึ้นมา เมื่อเก็บหัวมาแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วส่งตลาดหรือเก็บรักษาไว้ต่อไป การเก็บรักษามันแกวที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ไม่ขุดขึ้นจากดิน วิธีนี้จะสามารถทิ้งหัวมันแกวไว้ในดินได้อีกประมาร ๒-๓ เดือน โดยไม่ให้น้ำ หัวจะไม่เสีย เพียงแต่แห้งไปบ้าง และจะมีรสหวานมากขึ้น ถ้าขุดขึ้นมาแล้วจะเก็บรักษาได้โดยเก็บไว้ในอุณหภูมิ ๐ องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ ๒ เดือน

ประโยชน์ของมันแกวมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของมันแกว มีดังนี้
หัว หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ ๑.๔๗ ไขมันร้อยละ ๐.๐๙ แป้งร้อยละ ๙.๗๒ น้ำตาลร้อยละ ๒.๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ ๐.๕๐ เหล็ก (Fe) ๑.๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม (Ca) ๑๖.๐ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๕ มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๒ มิลลิกรัม กรดเอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัม
ฝัก ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖.๔ โปรตีนร้อยละ ๒.๖ ไขมันร้อยละ ๐.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๒.๙ เถ้าร้อยละ ๐.๗ แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัม ฟอสฟอรัส (P) ๓๙ มิลลิกรัม เล็ก ๑.๓ มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน ๐.๑๑ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๘ มิลลิกรัม
เมล็ด ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.๕-๒๘.๔ ผลการวิเคราะห์เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๖.๗ น้ำมันร้อยละ ๒๗.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๗.๐ เถ้าร้อยละ ๓.๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษเนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ ๐.๑๒-๐.๔๓ และไอโซฟลาวาโนน และ ทุฟูราโน -๓- ฟีนิลดูมาริน
ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของมันแกว ส่วนใหญ่คือหัว หัวสดใช้เป็นอาหาร เป็นผลไม้และผัก หรือจะใช้หุงต้มปรุงอาหารก็ได้ หัวเล็ก ๆ หรือเศษของหัวใช้เลี้ยงสัตว์ ฝักอ่อนต้มรับประทานเป็นผัก เมล็ดใช้ทำพันธุ์ เมล็ดแก่ป่นหรือบดใช้เป็นยาฆ่าแมลงหรือใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝักแก่และเมล็ดแก่เป็นพิษต่อการบริโภคของคนและสัตว์ เนื่องจากเมล็ดมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย น้ำมันจากเมล็ดมันแกวกินได้ ต้นหรือเถามันแกวมีความเหนียว ในประเทศฟิจิ ใช้ทำแห อวน ได้

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet  และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00723