หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กวนอิม ไม้มงคล


กวนอิมเงิน

(หวายด่างหรืออ้อลาย)

ชื่อสามัญ     Ribbon plant

ชื่อวิทยาศาสตร์      Dracaena sonderiana"silver"

ตระกูล     LILIACEAE

ถิ่นกำเนิด    ในประเทศคาเมรูนและคองโก

ลักษณะทั่วไป

กวนอิมเงินเป็นพรรณไม้ยืนต้น คล้ายกับสกุลหวายลำต้นโตประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นกลมตรงเล็กลำต้นเป็นข้อๆสีเขียวไม่มีกิ่งก้านสาขามีการเจริญการยืดตัวของข้อใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอด ของลำต้น มีกาบใบหุ้มห่อลำต้น สลับกันเป็นชั้นๆ ตามข้อของลำต้น ใบแคบเรียวยาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบลงมาถึงกาบ ใบพื้นใบมีสีเขียวหรืมีสีขาวพาดตามยาวของใบ ขนาดความกว้างของใบประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร

การเป็น ไม้มงคล กวนอิมเงิน

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นกวนอิมเงินไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีฐานะดี เกิดความร่ำรวย เพราะต้นกวนอิมเป็นไม้นำเงินเข้ามาหมุนเวียนให้คนในบ้าน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ต้นกวนดิมเงินเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนโบราณใช้ต้นกวนอิมประกอบในพิธีบูชาพระเจ้า และพิธีมงคลทางศาสนาดียิ่งนัก

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกวนอิมเงินไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก  กวนอิมเงิน การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2ปี/ครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและการแตกกอของทรง พุ่มโตขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเปลี่ยนดินปลูกใหม่ เพื่อทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณหน้า บ้าน เพราะจะได้เป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 20 x 20 x 20 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา กวนอิมเงิน
แสง    ต้องการแสงแดดจัด หรือ แสงร่มรำไร

น้ำ      ชอบน้ำมาก การให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน     ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชื้นสูง

ปุ๋ย     ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 1-2 เดือน/ครั้ง หรือการใส่ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 16-16-16 อัตรา 100-300 กรัม/กอ ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง

การขยายพันธ์     การปักชำ

โรคและแมลง     ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค แมลง จะพบเพลี้ยแป้ง

อาการ      ซอกใบหรือโคนใบจะมีกลุ่มผงสีขาว หลังจากนั้นใบจะเหลือกซีด แคระแกร็น

การป้องกันกำจัด     รักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ปลูก ฉีดพ่นด้วย ยาไดซินอนตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากยา


อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00729

ผักแพว





ผักแพว (ผักไผ่)

วงศ์ Polygonaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ vietnamese coriander

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour.

ชื่อพื้นเมือง ผักไผ่ ( ภาคเหนือ ) ผักแพว ( ภาคกลาง-อุดรธานี-อีสาน ) จันทร์โฉม

ผักแพว (ผักไผ่) ผักไผ่ เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ขึ้นได้ดีบริเวณพื้นดินที่มีความชื้นสูง ลำต้นมีข้อเป็นระยะ บริเวณข้อจะมีรากงอกออกมาเมื่อสัมผัสกับพื้นดิน ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเป็นใบ เดี่ยวออกแบบสลับ สีเขียว ใบเรียวเล็ก คล้ายรูปหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ดอก จะออกเป็นช่อ ดอกเล็กสีขาวอมชมพูม่วง ผลขนาดเล็กมาก

ประโยชน์ทางอาหาร ผักไผ่เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน เฉพาะตัว ยอดอ่อนและใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดคู่กับน้ำพริก ลาบ ก้อย ทางภาคเหนือนิยมซอยใส่ในลาบ หรือ ยำไก่ เพิ่มความหอมอร่อย

สรรพคุณทางยา ผักไผ่มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม เจริญอาหาร

การเลือกซื้อ ผักไผ่เป็นผักที่เสือกซื้อง่ายแค่ดูที่ใบสดๆ ไม่เหี่ยว เหลือง มีรอยกัดแทะ ของหนอนแมลงบ้างเป็นใช้ได้ค่ะ

การเก็บรักษา ให้เก็บผักไผ่ใส่ถุงพลาสติกปิดให้สนิท เก็บใส่กล่องพลาสติกปิดฝาให้มิดชิดเก็บเข้าตู้เย็นช่องใส่ผักได้เลยค่ะ

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00727