หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า


การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า
ปลูกข้าว

การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขตนาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด ดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบันการทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่างรุนแรง เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณ ข้าววัชพืช ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว) วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้
แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่
1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วย เครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง
การตกกล้า ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้
ตกหล้า
1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม
ตกกล้า
2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่
ตกกล้า
3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว
ตกกล้า
4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน
ตกกล้า
5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน

การเตรียมแปลง
ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อน จึงไถดะครั้งที่
ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้ว

คราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง
สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้ราก ข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้
ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก
การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่
การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 % กรณีไม่ถูกฝนช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวน้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า

ความสุขของชาวนา


ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ


สวัสดีครับพี่น้องฟาร์มเกษตรทุกๆท่าน วันนี้ ฟาร์มเกษตรเรามีบรรยากาศ

ความเหนื่อยล้า ความสุข ของพี่น้องชาวฟาร์มเกษตร ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ มาฝากกันนะครับ มาดูกันเลยครับ

ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ


นี้ครับ ภาพบรรยากาศ ของชาวเกษตร ที่เหนื่อยล้าจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร้จ แล้วรอทำการ สีข้าว เพื่อเอาเฉพราะ เมล็ดข้าว

ดูกัน ดีๆ นะครับ แต่ล่ะคน คงเหนื่อยกันมากเลย สังเกตครับ สังเกต พากันนอนอะครับ รอ รถสีข้าวครับ รอนานหน่อย ก็เลยพากันนอน อิอิ


ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ


ต่อ ครับ ต่อ นี้ครับ บรรยากาศ สีข้าวเสร็จ ครับมี รอยยิ้ม ความสุข ขึ้นมาเลย

ดูแต่ล่ะคน ครับ สังเกต รอยยิ้ม ยิ้มอย่าง มีควาสุข หายเหนื่อยกันเลย ทีเดี๋ยว


ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
ความสุขของชาวนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ


อะ ฮ่า นี้ครับ ความสุข ที่แท้จริง ครับ เมื่อทำงานเสร็จก็ต้องฉลองกันหน่อย

สังเกตครับ สังเกต อะ พ่อครัว แม่ครัว ครับ รอยยิ้ม ยิ้มอย่างมีความสุข หายเหนื่อยกันเลย ครับ

นี้ครับความสุขของชาวนาที่แท้จริง




วันนี้ ทีมงานฟาร์มเกษตรของเรา ต้องขอขอบคุณ  คุณแม่ราตรี ไชยแสง มากๆ เลย ที่คุณแม่ ได้ให้ ภาพบรรกาศ สวยๆ งามๆ มาฝาก

พี่น้องชาวฟาร์มเกษตร ทุกๆ ท่าน ครับ  กราบขอพระคุณ คุณแม่ราตรี ไชยแสง เป็นอย่างสูง ครับ

และขาดไม่ได้ครับ มือกล้องครับ  ต้องขอบคุณด้วยนะครับ





วันนี้ฟาร์มเกษตร เราก็เอาบรรยากาศมาฝากกันหมอแล้ว นะครับ เจอกันใหม่ ในครั้งต่อไป ขอบคุณครับ  ไปแล้ว บาย..

การปลูก ผักบุ้ง


ผักบุ้ง

ชื่อ "ผักบุ้งไทย"
วงศ์ "CONVOLVULACEAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Ipomoea aquatica Foisk. Ipomoeareptans Poir. (Syn.)"
ชื่อพื้นเมือง"ผักทอดยอด(กรุงเทพฯ) ผักบุ้งไทย(กลาง)
ผักบุ้ง(ทั่วไป)ผักบุ้งแดง ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา กำจร(ฉานขแม่ฮ่องสอน)"


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ผักบุ้ง, ผักทอดยอด, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งนา, กำจร,

ผักบุ้งเป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะๆ ลำต้น กลวงสีเขียวมีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับเช่นรูปไข่รูปไข่แถบขอบขนานรูปหอก รูปหัวลูกศรขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อยปลายปลายใบแหลมหรือมนฐานใบเว้าป็นรูปหัวใจใบยาว3-15ซม. กว้าง1-9ซม. ดอกเป็นรูประฆังออกที่ซอกใบแต่ละช่อมีดอกย่อย1-5ดอก กลีบเรียงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาว สีม่วงแดง สีชมพูม่วงกลีบดอกจะติดกันเป็นรูปกรวยมีสีขาวอยู่ด้านบนและมีสีม่วงหรือสีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี 5 อันยาวไม่เท่ากันผลเป็นแบบแคปซูลรูปไข่หรือกลมสีน้ำตาลมีเมล็ดกลมสีดำ

การปลูก ผักบุ้ง, ผักทอดยอด, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งนา, กำจร,

ผักบุ้งป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิดขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง แต่หากมีน้ำมากก็จะทำให้ลำต้นเจริญงอกงามดี เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่ายและรวดเร็วปลูกโดยการแยกกิ่งแก่ไปปักชำ

ประโยชน์ทางยา  ผักบุ้ง, ผักทอดยอด, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งนา, กำจร,

ผักบุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง

ประโยชน์ทางอาหาร  ผักบุ้ง, ผักทอดยอด, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งนา, กำจร,

ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลยอดอ่อนใบอ่อนของผักบุ้งเป็นผักได้และผักบุ้งเป็นพืชออกยอดตลอดปีและมีมากในช่วง ฤดูฝนการปรุงอาหารคนไทยทุกภาครับประทานผักบุ้งมีการปลูกและการจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลาย ในทุกฤดูกาลผักบุ้งเป็นผักที่ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิดนับตั้งแต่รับประทานยอดอ่อนเป็นผักสดหรืออาจนึ่ง ลวกและราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลบก้อยยำและนำยอดอ่อนและใบอ่อนไปปรุง เป็นอาหารเช่นผัดจืดใส่หมูปลาไก่หรือผัดกับน้ำพริกและหมูนอกจากนี้ยังนำไปแกงเช่นแกงส้มแกงคั่วเป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดองและนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดองหรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำ พริกเป็นต้น

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ ผักบุ้ง, ผักทอดยอด, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งนา, กำจร,

รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วย เส้นใย101กรัมแคลเซียม3มิลลิกรัมฟอสฟอรัส22มิลลิกรัมเหล็ก3มิลลิกรัมวิตามินเอ11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง0.17มิลลิกรัมไนอาซิน1.3มิลลิกรัมวิตามินซี 14 มิลลิกรัม


อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet  และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00721

ไม้มงคล ต้นนางกวัก



ไม้มงคล ต้นนางกวัก

: ต้นนางกวัก.
ชื่อวิทยาศาสตร์, Alocasia cucullata (Lour.) G.Don.
ชื่อวงศ์, ARACEAE

ต้นนางกวัก เป็นพันธุ์ไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกมงคล กวักเงิน กวักทอง นางกวัก คล้ายกริยาของการเรียกเงิน ทองหรือ กวักมงคลต่างๆ

กวัก เป็นต้นไม้ที่มีก้านตั่งตรงจากลำต้นหนา 3-6 cm ก้านใบยาวตั้งแต่ 20-85 cm ใบลักษณะคล้ายใบโพธิ์ขนาดกว้าง 8-30 x 6-35 cm. มีก้านใบเชื่อมถึงกัน สีเขียวแกมน้ำเงิน ใบด้านบนเป็นมัน เห็นเส้นใบโค้งตามรูปใบชัดเจน ต้นที่สมบูรณ์จะมีใบใหญ่เป็นมันก้านยาว เมื่อใบเก่าแห้งแล้วลอกทิ้งจะทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายลำต้น กวักจะแตกหน่อออกเป็นต้นใหม่ไปเรื่อยๆ แม้ปลูกเพียงต้นเดียวก็สามารถมีหน่อได้จนเต็มภาชนะปลูก

ต้นกวักที่มีอายุมากๆ เมื่อนำมาตัดแต่งลอกใบเก่าๆ ออก จะทำให้เห็นลำต้นซึ่งเมื่อนำมาปลูกแล้วดูสวยงาม

การปลูกและให้น้ำ นั้นไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อยๆ แม้กวักจะชอบชื้นแฉะ ควรตั้งไว้ในที่ร่มรำไร จะทำให้ใบสวยงาม

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet  และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00719