หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคใบยางพาราอ่อน

โรคใบยางพาราอ่อน


ใบยางพาราอ่อน

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อราC.gloeosporioides
ลักษณะของเชื้อรา
ลักษณะอาการของ
โรคใบยางอ่อน
เชื้อนี้เข้าทำลายใบยางขณะมีอายุ 5 - 15 วัน หลังจากเริ่มผลิ คือ ระยะที่ใบขยายและกำลังเปลี่ยนจากสีทองแดงเป็นเขียวอ่อน เมื่อเชื้อราเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวและหลุดร่วงทันที แต่ถ้าหากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อใบโตเต็มที่แล้ว ใบจะแสดงอาการเป็นจุด ปลายใบหงิกงอ แผ่นใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีขอบแผลสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการแพร่กระจายของโรค
เชื้อนี้จะแพร่กระจายในระยะฝนชุก และเข้าทำลายส่วนยอดหรือกิ่งอ่อนที่ยังเป็น สีเขียวอยู่ ซึ่งจะเห็นเป็นรอยแตกบนเปลือก โดยแผลมีลักษณะกลมคล้ายฝาชีที่ยอดขาดแหว่งไป หรือมีรูปร่างยาวรีไปตามเปลือกก็ได้ ถ้าเป็นมากยอดนั้น ๆ จะแห้งตาย หากอากาศแห้งแล้งในระยะต่อมาจะทำให้ต้นยางเล็กแห้งตายได้
การป้องกันกำจัด
โรค
การป้องกันกำจัด
1. เนื่องจากโรคนี้เกิดกับยางที่ไม่สมบูรณ์ การบำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นยาง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
2. ป้องกันใบที่ผลิออกมาใหม่มิให้เป็นโรค โดยใช้สารเคมี ไซเน็บ หรือแคบตาโฟล ผสมสารจับใบฉีดพ่น 5 - 6 ครั้ง ในระยะที่ใบอ่อนกำลังขยายตัวจนมีขนาดโต เต็มที่


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00878
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย

การแก้ปัญหายางพาราหน้าตาย


การแก้ปัญหายางพาราหน้าตาย

การแก้ปัญหายางพาราหน้าตาย

การที่หน้ายางพาราตาย นั้นเป็นปัญหาของเกษตรชาวยางพาราเป็นอย่างมาก จึงต้องมีวิธีแก้ไขหน้ายางพาราตาย กรีดยางพาราแล้วไม่มีน้ำยางออกมานั้น สาเหตุของอาการยางพาราหน้าตาย นั้นมีอยู่ 3 สาเหตุคือ

1.สภาพอากาศ รวมถึงสภาพดิน ที่ไม่เอื้ออำนวย และไม่มีการบำรุงต้นยางอย่างถูกวิธี

2.อาจเกิดจากปัญหาการกรีดยางพาราต้นเล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งการเปิดกรีดยางครั้งแรกไม่ได้ยึดที่อายุของต้นยางพารา แต่ จะยึดที่ขนาดของต้นยางพาราคือ ให้วัดจากพื้นดินขึ้นมา 1.5 เมตร และวัดเส้นรอบต้น ณ จุดที่สุง 1.5 เมตร ให้ได้ 50 ซม.

3.ในปีแรกเกษตรกรควรกรีดยางพารา วัน เว้น วัน ซึ่งหากกรีดเกินนั้น จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการทำให้เกิดอาการยางพาราหน้าตาย หรือหน้ายางพาราตาย

วิธีแก้ไขหน้ายางพาราตาย

1.หยุดกรีดยาง และควรบำรุงรักษาต้นยาง 3-6 เดือน (หากอาการไม่รุนแรง)

2.หยุดกรีดยาง และควรบำรุงรักษาต้นยาง 1 ปี (กรณีอาการรุนแรงไม่มากนัก)

3.หากนานกว่า 1 ปี แสดงว่าอาการแก้ไขไม่ได้แล้ว ต้องตัดต้นยางพารขายเท่านั้น

*สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสอบถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์กรทำสวนยาง จังหวัดอุดรธานี โทร.(042)349157-8


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00877
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย