หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีการปลูกแตงโม




วิธีการปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตง ที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานาน แล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยัง ใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถ ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ใน ดินแทบทุกชนิดแต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย ซึ่งมีสภาพความ เป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.0–7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี

ฤดูปลูกการปลูกแตงโม

เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝนเพราะว่าในช่วงดัง กล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุกจะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วน ใหญ่ และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัดเหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดู แล้ง หรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และ เก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

ธันธุ์แตงโม

ที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์เบาที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือพันธุ์ชูการร์เบบี่ ผลกลมสีเขียวคลํ้า อายุเก็บเกี่ยว 65 วัน นับ จากวันงอก อีกพันธุ์หนึ่งได้แก่
พันธุ์หนัก คือ พันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ผลสีเขียวอ่อน มีลายที่ผิวผล ผลกลมยาวขนาดใหญ่ อายุ เก็บเกี่ยว 85 วัน นับจากวันงอก
พันธุ์แตงโมเหลือง เป็นพันธุ์ลูกผสม เนื้อสีเหลือง ผลกลม สีเขียวอ่อนลายเขียวเข็ม อายุเก็บ เกี่ยวประมาณ 70-75 วัน

ดินและการเตรียมดิน

แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มีความชุ่ม ชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาด นํ้าได้เป็นอย่างดีในระยะที่ต้นแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทํา ให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดินซึ่งจะ ช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้นและเป็นการช่วยทําให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็น ประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจําเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือ ค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดิน หรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การปลูกแตงโม

ใช้เมล็ดพันธุ์ชูการ์เบบี้อัตรา 40-50 กรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์และพันธุ์เหลือ อัตรา 250 – 500 กรัม/ไร่ โดยหยอดเป็นหลุมให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตง นั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถาแตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร ในดินทรายขุดหลุมให้มี ความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมให้ลึก ประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบน ใส่รองก้นหลุมๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงลงมือปลูก หยอดหลุมละ 5 เมล็ด

การดูแลรักษาแตงโม

เมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม เมื่อแตงโมขึ้นมามีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุม ละ 2-3 ต้น โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้แต่ถ้าปลูกให้ต้นหางกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3 เมตรแล้ว ก็เหลือหลุมละ 3 ต้นได้รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่ จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

วิธีช่วยให้เมล็ดแตงโมงอกเร็วขึ้น


สําหรับผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะ ว่า ถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติฉะนั้นเพื่อ ขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่นๆ ในบ้าน จะช่วย ทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ เมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไป เพาะในถุงหรือกระทงใบตองได้รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ จึงนําลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวก เพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนําเมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบ เดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้นํ้าในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว้ 1 วัน เพื่อให้ดินในหลุมชื้น พอเหมาะ หยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหน้าไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดนํ้า ต้นแตงโมจะขึ้นมา สมํ่าเสมอกันทั้งไร


เราหวังว่า เกษตรทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00737


ความสำคัญของผัก

ความสำคัญของผัก

ผักเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะในแง่ของวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อโภชนาการ (nutrition) ของมนุษย์ การเลือกบริโภคผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นประจำ ร่างกายจะได้รับวิตามิน และเกลือแร่พอเพียง ตัวอย่างของผักที่ควรเลือกใช้เป็นอาหาร คือ

ผักที่มีเนื้อสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท มันเทศ มันฝรั่ง เพราะมีแคโรตีน (carotene) สูง เมื่อเราบริโภคผักเหล่านี้ สารแคโรตีนจะถูกเปลี่ยนในร่างกายของเราให้กลายเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ให้ความแข็งแรงต่อเยื่อบุต่างๆ ช่วยให้ใช้สายตาในที่มืดได้ดีขึ้น ผู้ที่ขาดวิตามินเอ จะมีร่างกายแคระแกร็น ฟันผุ เป็นหวัดง่าย ตาอักเสบง่าย

ผักใบสีเขียวต่างๆ มีวิตามินบี 2 (riboflavin) ที่มีบทบาทในการเผาผลาญการย่อย หรือการใช้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ขาดวิตามิน บี 2 มักจะเป็นโรคปากนกกระจอก ลิ้นอักเสบ เหงือกอักเสบ โรคผิวหนังแห้ง ผิวลอก ขนร่วง

ถั่วลิสง มีวิตามิน พีพี (vitamin PP หรือ niacin) สูง ป้องกันการเป็นโรคผิวหนังกระ ระบบประสาทพิการ

มะเขือเทศ มะเขือเปรี้ยว มะนาว ผักใบเขียว มีวิตามินซี (ascorbic acid) สูง ผู้ที่ขาดวิตามินนี้จะเป็นโรคโลหิตจาง ซีดเซียว แคระแกร็น กระดูกไม่แข็งแรง เป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน และเป็นหวัดง่าย

ผักกาด และผักกินใบต่างๆ มีแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม ธาตุนี้ช่วยในการสร้างกระดูก ทำให้โครงกระดูกและฟันแข็งแรง ผู้ที่มีสุขภาพดีมักจะมีฟันแข็งแรง นอกจากนี้ผักเหล่านี้ยังมีธาตุเหล็กสูง ธาตุนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดโลหิตแดง ผู้ที่ขาดธาตุนี้จะเป็นโรคโลหิตจาง

ถั่วเหลือง มีโปรตีน หรือกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายสูง การใช้ถั่วเหลืองในรูปต่างๆ เช่น ถั่วงอก เต้าเจี้ยว เต้าหู้ น้ำนม ถั่วเหลือง ถั่วแผ่น เนื้อเกษตร (เนื้อเทียมที่ทำจากถั่ว) สามารถช่วยเพิ่มอาหารโปรตีนในท้องที่ที่ขาดอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา นม และไข่ได้ ถั่วอีกหลายชนิดยังอุดมไปด้วยอาหารประเภทไขมัน ละน้ำมัน (fat & oil) ด้วย การใช้น้ำมันถั่ว หรือน้ำมันพืช ยังช่วยลดการเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นโลหิตอุดตันเกิดจากสารคอเลสเทอรอล (Cholesterol)

นอกจากผักจะสามารถจัดสรรอาหาร ๓ ประ เภท คือ

1.อาหารประเภทโปรตีนที่ให้ความเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
2.อาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล และไขมัน น้ำมันที่ให้พลังงาน และความอบอุ่นต่อร่างกาย
3.อาหารประเภทวิตามิน และเกลือแร่ที่เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว

ผักยังมีปริมาณ น้ำสูง มีเซลลูโลส (cellulose) หรือกากอาหาร (fiber) ซึ่งสารนี้ช่วยเสริมกิจกรรมการย่อยอาหาร และขับถ่ายของร่างกายให้เป็นปกติ ยิ่งไปกว่านั้นผักบาง ชนิด เช่น พริก ความเผ็ดของพริกยังใช้เป็นเครื่องชูรส และเครื่องกระตุ้นให้เรารับประทานอาหารได้เอร็ดอร่อยขึ้น ผักหลายชนิดใช้สกัดทำสีย้อมอาหารให้น่ารับประทานขึ้น และไม่เป็นพิษเป็นภัย ต่อร่างกาย เช่น ดอกอัญชันใช้สกัดสีม่วง ใบเตยใช้สกัดสีเขียวใบไม้ เป็นต้น

ตามที่กล่าวมาแล้ว ผักมิใช่แต่จะใช้เป็นอาหารของมนุษย์เท่านั้น แต่ผักยังใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย ดังนั้นเราอาจเปลี่ยนผักให้เป็นเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนได้ ยิ่งไปกว่านั้นในระยะที่น้ำมันขาดแคลน แทนที่เราจะทิ้งเศษผักกองใหญ่ๆ ให้เน่าเหม็นโดยไร้ประโยชน์ เราอาจจะใช้เศษผักที่กำลังเน่าเปื่อย ไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ (biogas) ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันได้รูปหนึ่ง เศษผักที่เหลือจากการสลายตัวแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ด้วย


เราหวังว่า เกษตรทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00735