หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ต้นสนฉัตร์



สนฉัตร์

ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
ตระกูล
Nolfolk island pine
Aruacaria heterophylla.
ARUCARIACEAE

ลักษณะทั่วไป

สนฉัตร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ

ขึ้นรอบต้น ลำต้นกลมทรงพุ่มโปร่ง และมีเกล็๋ดใบเล็ก ๆ ออกตามต้นส่วนยอดการเจริญแตกกิ่งก้านเป็นชั้นๆออกไปตาม แนวนอน ส่วนลำต้นขึ้นตรงไปใบเป็นใบกระกอบออกตามกิ่งก้านเป็นเกล็ด มีลักษณะเป็นขนสั้นเล็กมีสีเขียว เรียงตัวกันแน่น

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสนฉัตรไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความสนใจจากบุคคลทั่วไป เพราะ สน คือการสนใจ เห็นใจ ในสิ่งที่ดีงามนอกจากนี้ยังทำให้มีเกียรติและความสง่า เพราะ สนฉัตร มีทรงพุ่มลักษณะคล้ายเครื่องสูงที่ใช้ในพิธแห่เกียรติยศ และลักษณะการเจริญของลำต้นกิ่งก้านเด่นชัด ตระหว่านงาม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นสนฉัตรไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็ฯมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูกมี 2 วิธี

1 .การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร นิยมใช้กับต้นสนฉัตรอายุระหว่าง 1-3 ป การปลูกควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด12-18 นิ้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะ สมของทรงพุ่ม ถ้าต้นสนฉัตรมีอาจุมากกว่า 5 ป ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกในแปลงปลูกเพราะทรงพุ่มโตขึ้น

การดูแลรักษา
แสง
น้ำ
ดิน
ปุ๋ย
การขยายพันธ์
โรค
ศัตรู
อาการ
การป้องกัน
การกำจัด
ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นสูง
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-5 ครั้ง
การปักชำ การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรครากเน่า
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร
ใบซีดเหลือง ร่วง และแห้งตาย เกิดบริเวณปลายกิ่ง
ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นในดินที่เหมาะสม
ใช้ยาแคปแทน ไซแนบ อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก



เราหวังว่า เกษตรทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ
อ้างอิง : www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00767