หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคแส้ดำในไร่อ้อย

โรคแส้ดำในไร่อ้อย

โรคแส้ดำในไร่อ้อย

สาเหตุ เกิดจาก เชื้อรา Ustilago scitaminea

การระบาดของโรคแส้ดำในไร่อ้อย

1. การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยทางท่อนพันธุ์ จากกอที่เป็นโรค

2. เชื้ออยู่ในดินและสามารถเข้าทำลายอ้อยที่ปลูกใหม่ได้

3. เชื้อสามารถแพร่กระจายได้โดยลม และเข้าทำลายพันธุ์ที่อ่อนแอได้

ลักษณะอาการโรคแส้ดำในไร่อ้อย

อ้อยจะแตกยอดออกมาเป็นแส้สีดำแทนยอดปกติ ต้นแคระแกรนผอม ข้อสั้น ใบเล็ก แตกกอจัด เมื่อเป็นรุนแรงอ้อยจะแห้งตาย ผลผลิตลดลงเกินกว่า 10 % CCS ลดลง ไว้ตอได้น้อยลง

การป้องกันกำจัดโรคแส้ดำในไร่อ้อย

1. เลือกใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น อู่ทอง 1, อู่ทอง 2, อู่ทอง 3, อู่ทอง 4

2. ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด

3. ในพื้นที่มีการระบาด ถ้าเลือกใช้พันธุ์ที่ไม่ราบข้อมูลความต้านทาน ควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมี เช่นไตรอะไดมีฟอน (ไบลีตัน 25 % WP), โปรปิโคนาโซล (ทิลท์, เดสเมล) อัตรา 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาที ก่อนปลูก


อ้างอิง : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00876
ราสีชมพู|ราดำ|ราแป้ง|โรครา|เชื้อรา|โรคเชื้อรา|ป้องกันเชื้อรา|แก้โรครา|Dating|หาแฟน|ปุ๋ย